ภาวะท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร ?

อาหารไม่ย่อย ผู้สุงอายุ

อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้เสมอในผู้สูงอายุ และนอกจากอาการท้องอืดจะรบกวนและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยแล้ว ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการทำงานของลำไส้และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เสื่อมสภาพทำงานได้ลดน้อยลง โดยสาเหตุสำคัญมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันตนเองอย่างไร บทความนี้มีคำแนะนำครับ

ภาวะท้องอืดอาหารไม่ย่อย  คืออะไร?

อาหารไม่ย่อย คืออาการแน่นท้อง รู้สึกไม่สบายภายในบริเวณท้องด้านบนส่วนกลางหรือบริเวณลิ้นปี่ ผู้สูงอายุบางคนอาจมีอาการจุกเสียด มีลมในท้อง และเรอบ่อย ส่วนใหญ่ลักษณะอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ไม่รุนแรงแต่รบกวนการใช้ชีวิต ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ท้องอืดอาหารไม่ย่อยไม่ใช่โรคแต่เป็นกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารส่วนบน แต่หากอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุเกิดขึ้นเป็นประจำและมีอาการอื่น ร่วมด้วยอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ ได้

สาเหตุและสัญญาณเตือนโรคที่เกิดจากระบบทางเดินอาหาร และอาหารไม่ย่อย

ผู้สูงอายุที่มีอาการอาหารไม่ย่อย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เฉลี่ยมีประมาณ 40% ของผู้ป่วยที่สามารถตรวจพบสาเหตุของอาการได้ แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 60% จะหาสาเหตุของอาการไม่พบ อาการอาหารไม่ย่อยแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรงเป็นเพียงอาการเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต แต่หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ โดยทั่วไปอาการท้องอืดจากอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. สาเหตุมาจากแผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาการท้องอืดที่มีสาเหตุมาจากการเกิดแผลบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจเป็นสัญญาณจากอาการของโรคต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ พยาธิในทางเดินอาหาร และโรคมะเร็งหลอดอาหารมะเร็งในกระเพาะอาหารที่เป็นโรคอันตรายซึ่งส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
  2. สาเหตุมาจากอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคของทางเดินน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคของตับ ตับอ่อน เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ โรคกรดไหลย้อน โรคกังวลทั่วไป หรือ โรคซึมเศร้า
  3. สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยลักษณะนี้พบได้มากถึงร้อย 60 เป็นอาการรอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผล เช่น เกิดจากการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่รับประทาน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุที่ควรรีบพบแพทย์

  1. ผุ้สูงอายุที่มีอาการท้องอืด อาการจุกเสียด มีลมในท้อง และเรอบ่อย แต่เกิดขึ้นในลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ หรือเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ หากเป็นแบบเรื้อรังคือเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยเฉพาะคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคตับ
  2. ผู้สูงอายุที่มีอาการท้องอืดเป็นประจำ ร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  3. อาการอาหารไม่ย่อย และมีความผิดปกติต่าง ๆ  เช่น มีก้อนในท้อง การขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไป ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ตัวเหลือง ตาเหลือง มีอาการซีด
  4. ผู้สูงอายุ มีอาการท้องอืดแน่นท้องมาก ปวดท้อง กลืนอาหารไม่ได้ หรือมีอาเจียนติดต่อกัน
  5. ผู้สูงอายุที่มักมีอาการท้องอืด ร่วมกับเจ็บแน่นหน้าอก และเหนื่อยหลังมื้ออาหารเป็นประจำ

วิธีป้องกันอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ

สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ได้แก่อาการรอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผลในระบบทางเดินอาหาร แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคอาหาร ดังนั้นวิธีป้องกันอาการท้องอืดที่ได้ผลดีที่สุด ได้แก่

  1. เลือกบริโภคอาหารประเภทที่มีไฟเบอร์สูง หรืออาหารที่มีกากใยอาหาร แต่ต้องนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนปรุงสุกหรือรับประทาน เพื่อช่วยในการเคี้ยวทำให้เคี้ยวอาหารได้ละเอียด เพราะแม้จะเป็นอาหารที่มีกากใยก็เป็นสาเหตุทำให้ท้องอืด แน่นท้องได้ หากอาหารนั้นย่อยยากและเคี้ยวไม่ละเอียด
  2. เลือกรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย และอาหารที่มีแป้งน้อย ประเภทนอาหารช่วยย่อย เช่น เนื้อปลา ข้าวต้ม หรือ โจ๊ก
  3. เลือกรับประทานผลไม้ที่มีสรรพคุณช่วยย่อย เช่น สับปะรด มะละกอ เพราะอุดมไปด้วยเอนไซม์ รวมถึงผลไม้ไฟเบอร์สูงอย่างแก้วมังกร ช่วยระบายท้องและยังลดอาการท้องอืดของผู้สูงอายุได้ดี
  4. การดื่มนม หรือนมถั่วเหลือง ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุได้ เนื่องจากระบบย่อยทำงานไม่ดี หลังการดื่มนมแล้วมีอาการท้องอืดควรปรับพฤติกรรมการดื่ม โดยการทดลองดื่มทีละน้อย ๆ เพื่อให้รู้ว่าร่างกายสามารถรับนมที่ดื่มเข้าไปได้หรือไม่ หากทราบสาเหตุก็จะทำให้หลีกเลี่ยงการดื่มนม
  5. หลังการรับประทานอาหาร ผู้สูงอายุไม่ควรนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ควรลุกเดินหรือทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้เป็นปกติ ก็จะเป็นการป้องกันปัญหาโรคท้องอืดอาหารไม่ย่อยได้ทางหนึ่ง

ผู้สูงอายุถือเป็นช่วงวัยที่อวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งระบบการทำงานเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงหรืออยู่ในสภาพเสื่อมถอย ภาวะท้องอืดอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ควรทราบสาเหตุเพื่อป้องกันอาการได้อย่างถูกวิธี รวมทั้งหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอื่นที่เกิดขึ้นร่วมกับอาหารอาหารไม่ย่อยที่อาจเป็นอาการของโรคต่าง

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก