รู้ทัน วัณโรค และการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด

วัณโรค
เชื่อว่าโรคที่น่ากลัวสำหรับทุกคนอีกหนึ่งโรคนอกจากมะเร็ง ก็คือ วัณโรค เนื่องจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดต่อหรือได้รับเชื้อและป่วยด้วยโรควัณโรคปอดได้ง่าย อาการ ความรุนแรง และสาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร เมื่อเป็นแล้วมีวิธีดูแลตนเองอย่างไร aufarm.shop มีความรู้มาแนะนำ ครับ

วัณโรค คืออะไร?

วัณโรค คือโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ไมโครแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส(Mycobacterium Tuberculosis) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถแพร่กระจายได้โดยการที่ผู้ป่วย ไอ จาม แล้วมีผู้สูดหายใจรับเอาอากาศที่มีละอองของเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอด 

สาเหตุของโรควัณโรค

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส และเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกายแต่ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยที่รับเชื้อร้อยละ 80 ป่วยเป็นวัณโรคปอดเนื่องจากรับเชื้อเข้าสู่ปอดจากการหายใจ ไอ จาม อันตรายของโรคนี้ โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่อาการและความรุนแรงของโรคจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
  1. การติดเชื้อระยะแฝง ซึ่งผู้ป่วยวัณโรค ส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการและไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น หรืออาจจะแสดงอาการเพียงเล็กน้อย
  2. ระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจะมีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่ในระยะนี้ โดย 5% จะป่วยเป็นวัณโรคภายใน 2 ปี ส่วนอีก 5% จะป่วยเป็นวัณโรคหลังจาก 2 ปีไปแล้ว ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาก็จะหายขาดจากโรคได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธี ผู้ป่วยร้อยละ 50-65 จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี

อันตรายของวัณโรคระยะแฝง

ความน่ากลัวและอันตรายของวัณโรค ที่เปรียบเสมือนภัยเงียบ จะอยู่ในระยะแฝงตัว เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อจะไม่แสดงอาการโดยทันที เพราเมื่อร่างกายได้รับเชื้อจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายภายในระยะเวลา 2-8 สัปดาห์ เระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันและยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรค ทำให้เชื้อค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้า ๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้  วัณโรคระยะแฝง จึงเป็นภัยเงียบที่อันตราย เพราะนอกจากไม่แสดงอาการแล้บ จำนวนผู้ป่วยระยะแฝงประมาณ 90% ที่เชื้อโรคอาจจะอยู่ในระยะนี้เป็นเวลาหลายสิบปี หรือตลอดทั้งชีวิตโดยไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมเชื้อได้ เชื้อวัณโรคจะแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงก็จะกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรคที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อทราบระยะความรุนแรงของโรคและทำการรักษาทันที  แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ

สัญญาณบ่งบอกอาการของวัณโรค

  1. เริ่มมีอาการไอติดต่อกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ทั้งแบบไอแห้งๆ ไอมีเสมหะ หรือไอมีเสมหะปนเลือด ร่วมกับมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงบ่ายหรือค่ำ
  2. มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
  3. เหงื่อออกมากผิดปกติช่วงกลางคืน ลักษณะอาการเป็นแบบเรื้อรังต่อเนื่องนาน 2-3 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น
  4. ผู้ป่วยวัณโรคบางราย อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอกในขณะไอหรือหายใจเข้าลึก ๆ
  5. ผู้ป่วยอาจมีอาการไอออกมาเป็นเลือดสีแดงหรือดำได้ ซึ่งมักจะออกมาในปริมาณไม่มาก
  6. ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังมานาน หรืออยู่ในระยะลุกลามมาก จะมีลักษณะซูบผอม ซีด หรือหายใจหอบ
สำหรับผู้ที่มีอาการต่าง ๆ ซึ่งอาจสงสัยว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการของวัณโรค ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการตามขั้นตอนของแพทย์อย่างละเอียด หากพบว่าเป็นอาการของวัณโรคเมื่อพบได้เร็วก็สามารถรักษาให้หายขาดหรือทำการรักษาเพื่อลดความรุนแรงของโรคไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

ปัจจัยเสี่ยงและการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด

แม้ผู้ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิสทุกคน อาจไม่ได้เป็นวัณโรคทุกคนเพราะจากข้อมูลมีประมาณร้อยละ 10 เท่านั้นที่จะเป็นวัณโรค โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน ความดัน ผู้ที่เคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่ตรากตรำทำงานหนัก และคนที่มีความเครียดสูง ส่วนการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค หรือวัณโรคปอด ทำได้ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ 
  • กรณีพ่อแม่ที่ป่วยเป็นวัณโรค ควรแยกออกห่างจากลูก ไม่กอดหรือสัมผัสใกล้ชิดจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่อย่างสมดุล และพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
  • ป้องกันการแพร่เชื้อ โดยขณะไอหรือจามควรใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ปิดปากทุกครั้ง ส่วนเสมหะควรบ้วนลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
  • หากหลังกินยาแล้ว มีอาการอาการจะดีขึ้นก็ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะอาจทำให้เชื้อดื้อยา รักษาให้หายได้ยาก
  • ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
การรักษาวัณโรค หากตรวจพบเชื้อในระยะแรก ๆ หรือตรวจพบเชื้อได้เร็วก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อันตรายของโรคนี้มักไม่แสดงอาการ แม้ร่างกายจะได้รับเชื้อแล้วและจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีภูมิต้านทานต่ำ และอาจตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะรุนแรงที่ยากต่อการรักษา การดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกายและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จึงเป็นแนวทางป้องกันตนเองให้ห่างไกลและปลอดภัยจากวัณโรคได้ดีที่สุด
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก