เหงื่อออกมือ อันตรายหรือไม่ เป็นสัญญาณบ่งบอกโรคอะไร ?

เหงื่อออกมอ
เหงื่อออกมือ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ กรณี ยกเว้นอาการเหงื่อออกมือในสภาวะที่ผิดปกติ เช่น ในวันที่อากาศไม่ร้อน ไม่อยู่ในภาวะเครียดเครียด ไม่มีอาการตื่นเต้น รวมไปถึงอาการมีเหงื่อออกมือในขณะนอนหลับ เป็นเหงื่อที่ออกโดยไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหรือการทำกิจกรรมที่ควรจะมีเหงื่อออกมาก ๆ แม้อาการเหล่านี้จะไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน  ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายกำลังผิดปกติหรือมีโรคอะไรที่เราควรระวัง  เพื่อให้คลายความกังวลสำหรับคนที่มีอาการเหล่านี้ aufarm.shop มีความรู้มาแนะนำอีกเช่นเคยครับ

เหงื่อออกมือ เกิดจากสาเหตุใด ?

การมีเหงื่ออกที่มือและเท้าถือเป็นสภาวะปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นได้ ยกเว้นอาการของคนที่มีเหงื่อออกมือและเท้าจำนวนมาก ขณะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปกติหรือขณะนอนหลับ ทางการแพทย์จะแบ่งกลุ่มผู้มีภาวะเหงื่อออกมือที่ไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยรอบตัวเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
  1. กลุ่มที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกาย หรือระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ดี เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายกำลังเป็นโรคบางอย่างแฝงอยู่ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ และโรคหัวใจ ซึ่งอาการเหงื่อออกมักเป็นหนึ่งในอาการที่โรคเหล่านี้แสดงออกมา และอาจมีเหงื่อออกไปทั่วร่างกายร่วมด้วย
  1. กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจมีสาเหตุมาจากระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ ทำให้ต่อมเหงื่อทำงานเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ซึ่งมักทำให้เหงื่อออกเฉพาะจุด หรือภาวะ primary focal hyperhidrosis ซึ่งเป็นอาการที่เหงื่อออกแค่มือและเท้า มักเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่น สันนิษฐานว่ามาจากพันธุกรรม ซึ่งหากมีพ่อแม่ ญาติพี่น้องเป็น ดังนั้นโอกาสที่จะมีอาการเหงื่อออกมือก็เกิดได้สูงเช่นกัน 

เหงื่อออกมือ อันตรายหรือไม่ ?

ภาวะเหงื่อออกมือที่มากกว่าปกติ แม้ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่การมีเหงื่อออกมาก ๆ อาจสร้างความกังวลใจ ทำให้ขาดความไม่มั่นใจในตัวเอง และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำให้ไม่กล้าเข้าสังคม  รวมทั้งมีผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง การพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหรือตรวจวินิจฉัยก็ทำให้ทราบว่า ภาวะที่มีเหงื่อออกมือมากเกินไปเป็นอาการของโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ?

เหงื่อออกมือ เป็นสัญญาณบ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง ?

หากพบว่าเหงื่อออกมือขณะนอนหลับ โดยไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหรืออยู่ในกิจกรรมที่เหงื่อควรจะออก เช่น ขณะออกกำลังกาย และยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วยจนกระทบกับชีวิตประจำวัน ก็อาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายอาจมีโรคอื่นแฝงอยู่ ดังนี้
  1. โรคหัวใจ อาการของโรคนี้พบว่านอกจากมีเหงื่อออกมือแบบผิดปกติแล้ว อาจยังมีอาการ ใจสั่น เหนื่อยง่าย หอบ หายใจได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากหัวใจทำงานหนักต้องสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายมากกว่าปกติ มีความร้อนในร่างกายมากขึ้น จึงทำให้มีการระบายความร้อนทางผิวหนังเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย
  2. โรคเบาหวาน โรคนี้มักมีอาการเหงื่อออกมือหรือมีเหงื่อออกไปทั่วร่างกาย ร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย เป็นลมง่าย อ่อนเพลีย หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด 
  3. วัณโรค มาเลเรีย มะเร็ง โดยวัณโรคมักมีอาการเหงื่อออกตามมือและมีไอแบบเรื้อรัง หากเป็นโรคมาเลเรียจะมีไข้ และหากเป็นมะเร็งจะมีอาการเหงื่อออกไปทั่วๆร่างกายร่วมด้วย 
  4. โรคไทรอยด์เป็นพิษ มักมีอาการเหงื่อซึมที่มือและที่ตัวอยู่ตลอดเวลา กระหายน้ำบ่อย มือสั่น โรคนี้มักทำให้ระบบร่างกายเผาผลาญได้ดี
  5. เครียด กังวล ตื่นเต้น นอกจากอาการมีเหงื่อออกที่มือแล้ว เมื่อเป็นมากๆอาการมักจะใจสั่น คล้ายจะเป็นลม ปวดศีรษะร่วมด้วย 
  6. น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน นอกจากมีเหงื่อออกมือแล้ว ยังมักเกิดเหงื่อออกไปทั่ว ๆร่างกาย โดยไม่ได้เป็นเฉพาะจุดแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีชั้นไขมันที่หนาทำให้เหงื่อออกระบายไม่สะดวก
  7. วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง เมื่อผู้หญิงมีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในวัยนี้บางครั้งขณะนอนหลับอาจพบว่ามีภาวะเหงื่อออกมือบ่อย ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนได้น้อยลงหรือฮอร์โมนแปรปรวน และมักมีอาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ปัสสาวะบ่อย ช่องคลอดแห้ง ความรู้สึกทางเพศลดลงร่วมด้วย

การวินิจฉัยและการรักษาอาการเหงื่อออกมือ

เหงื่อออกมือ หากเป็นมากจนทำให้คุณภาพชีวิตลดลงหรือทำให้เกิดความวิตกกังวล ควรพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาหรือวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยตามขั้นตอน ดังนี้
  1. ซักถามประวัติและสอบถามลักษณะอาการเหงื่อออกมือร่วมกับการตรวจร่างกาย
  2. หากตรวจวินิจฉัยอาการแล้วหากไม่พบว่ามีโรคอื่นแฝง แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาทา ยากิน 
  3. การฉีดโบทอกหรือการใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นให้ประสาทส่วนเหงื่อหยุดทำงาน หรือการผ่าตัดเอาต่อมเหงื่อออกเพื่อทำลายปมประสาทบางส่วนที่ส่งสัญญาณมาที่มือ
  4. กรณีวินิจฉัยพบว่าเป็นอาการของโรคใดโรคหนึ่ง แพทย์จะวางแผนเพื่อรักษาโรคนั้น ๆ ตามขั้นการรักษาที่ถูกต้อง
เหงื่อออกมือ หากไม่ใช่อาการของโรคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เป็นภาวะที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด หรือไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน การมีเหงื่อออกมือมาก ๆ หากตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วไม่พบความผิดปกติหรือเป็นอาการของโรคใด ๆ การล้างทำความสะอาดมือบ่อย ๆ เช็ดมือให้แห้ง นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำด้วยการจิบน้ำบ่อย ๆ ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เพียงเท่านี้ก็ทำให้สุขภาพกายใจแข็งแรง ไม่มีความวิตกกังวล และสามารถชีวิตได้อย่างปกติสุข
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก