ความเครียด รู้ทันโรค ดูแลรักษาได้ไม่ยาก

โรคเครียด

ในความเป็นจริงโรคเครียดหรือความเครียด เป็นสภาวะทางอารมณ์ของคนเราที่กำลังเผชิญหรือต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ แม้กระทั่งสภาวะความไม่ปกติของร่างกายก็ส่งผลทำให้ร่างกายและจิตใจของเราเสียสมดุล  เมื่อหาทางออกไม่ได้เราก็จะเกิดความเครียดขึ้นมา โรคเครียด ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร เกิดขึ้นแล้วมีวิธีดูแลรักษาหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบครับ

โรคเครียดคืออะไร

ในทางการแพทย์ โรคเครียด คือ ภาวะที่ผู้ป่วยจะต้องเผชิญแรงกดดัน จากเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งสภาวะดังกล่าวส่งผลให้ร่างกายและภาวะด้านจิตใจ เกิดความเครียด ซึ่ง  ความเครียดนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน ในคนปกติทั่วไปจะสามารถคลายความเครียดได้แต่ในทางตรงกันข้าม  บุคคลที่มีแนวโน้มจะป่วยด้วยโรคเครียดไม่สามารถทำให้อาการเครียดลดน้อยลงได้และอาจเป็นมากขึ้น 

ซึมเศร้า เครียด

สาเหตุของโรคเครียด

โรคเครียด เป็นสาเหตุลำดับต้นๆของโรคทางด้านจิตเวช ปัจจุบันยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ความเครียดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนสาเหตุหลัก ๆ มีอยู่ 2 ด้าน ดังนี้ 

1. ความเครียดจากภายในร่างกาย

กรรมพันธุ์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของความเครีดเช่น มารดาที่กำลังตั้งครรภ์มีความเครียดเมื่อคลอกบุตรออกมาสามารถส่งผลให้เด็กได้รับผลกระทบไปด้วย รวมถึงการมีบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อแม่ ปู่ ย่าหรือตา ยาย เคยป่วยด้วยโรคเครียด รวมทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวก็ส่งผลกับความเครียดเช่นกัน

2. ความเครียดจากภายนอกร่างกาย 

ความเครียดจากภายนอก เกิดขึ้นได้จากหลานปัจจัย เช่น 

  • สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น มลภาวะ อากาศเสีย เสียงดังเกินไป การอยู่กันอย่างเบียดเสียด ยัดเยียด และอื่น ๆ
  • สภาพเศรษฐกิจ เช่นรายได้น้อยกว่ารายจ่าย
  • ความรู้สึกตนเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น ต้องพยายามต่อสู้เอาชนะ
  • พฤติกรรมความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิต
ท้อแท้ หมดหวัง

ภาพโดย Robin Higgins จาก Pixabay

อาการหรือสัญญาณบ่งบอกของความเครียด

  1. สีหน้าหน้าบึ้งตึงไม่แจ่มใส
  2. ไม่สนใจตนเอง ปล่อยเนื้อปล่อยตัว
  3. อาการรุ่นแรงอาจมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย และทำร้ายตัวเอง
  4. ปวดศีรษะเป็นประจำ  กินยาไม่หาย
  5. รู้สึกใจสั่นง่ายและ เหงื่อออกตามตัว  และฝ่ามือฝ่าเท้า
  6. รู้สึกขาดกำลังใจไม่มีแรงรู้สึกอ่อนล้า และไม่อยากทำอะไร
  7. ระบบขับถ่ายมีปัญหา  
  8. อารมณ์ไม่อยู่กับร่องกับรอย
  9. สมาธิสั้นลง  ไม่สามารถทำในสิ่งเดิม ๆได้
  10. รู้สึกหมดหวัง ซึมเศร้า
  11. รู้สึกหวาดกลัวและวิตกกังวล
  12. ชอบเก็บตัว  อยากอยู่แบบคนเดียวเงียบ ๆ
  13. นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายหรือนอนนาน นอนมากกว่าคนปกติ

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเครียด

  • การวินิจฉัยโรคเครียดด้วยตนเอง มีเกณฑ์การวินิจฉัย ดังนี้
  1. หมั่นสังเกตอารมณ์ของตนเองเช่น อารมณ์หงุดหงิด แทบทั้งวัน
  2. ขาดความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆที่เคยทำหรือเปล่า
  3. สังเกตน้ำหนักของตนเองว่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก 
  4. การพักผ่อนนอนหลับเป็นอย่างไร
  5. รู้สึกไม่อย่างพบปะผู้คน หรือไม่
  6. ร่างกายอ่อนเพลีย  ไร้เรี่ยวแรงหรือเปล่า
  7. มีอาการใจลอย หรือลังเลใจ ไม่แน่ใจในทุก ๆ เรื่องหรือไม่
  8. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า  ไม่น่าเกิดมา
  9. ที่สำคัญเคยคิดเรื่องการตาย หรือคิดอยากตายหรือไม่
  • การวินิจฉัยโรคเครียดโดยแพทย์ มีเกณฑ์การวินิจฉัย ดังนี้
  1. ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการทั่ว ๆไปเพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่มีอาการครั้งแรกไล่มาตามลำดับจนปัจจุบัน
  2. แพทย์อาจตรวจร่างกาย และอาจส่งตรวจแบบพิเศษเท่าที่จำเป็น ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีโรคทางร่างกายอื่น ๆ เช่น โรคทางจิต 
  3. ในกรณีที่ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต อาจได้รับการตรวจและวินิจฉัยสาเหตุอีกครั้งตามกรรมวิธีของแพทย์ เช่น
    • สอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่รุนแรงที่ผู้ป่วยเคยประสบ
    • การใช้สารเสพติด 
    • กรณีมีโรคประจำตัวอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางอย่าง และปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ 

พบปะผู้คน

การรักษาและขั้นตอนการรักษาโรคเครียด

1.การรักษาโรคโดยวิธีธรรมชาติบำบัด   

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเครียดไม่มากได้แก่การนั่งสมาธิ การฝึกลมหายใจเข้าออก การสวดมนต์ การหากิจกรรมที่ชอบทำให้เพลิดเพลิน การออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน พบปะผู้คนรวมถึงการหาคนที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้

2.การใช้ยา   

แพทย์อาจต้องจ่ายยารักษาโรคเครียดให้กับผู้ป่วยในบางราย เพราะแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกัน เริ่มจากให้ยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย รวมถึงปัญหาของการนอนหลับ และอาการซึมเศร้า 

  • กลุ่มยาที่ใช้รักษาในโรคเครียด ได้แก่ เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blocker) บรรเทาอาการเจ็บป่วยทางร่างกายเกิดจากฮอร์โมนความเครียดที่ร่างกายออกมา 
  • กลุ่มยาที่ช่วยในการระงับอาการทางประสาท ไดอะซีแพม (Diazepam) อยู่ในกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiapines) เป็นยาระงับประสาท แต่ในทางการแพทย์ไม่นิยมนำมาใช้ เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เพราะยาไดอะซีแพมอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการติด 

วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรคเครียด

เป็นที่ทราบว่าโรคเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยากมาก ดังนั้นแนวทางป้องกันที่ดีที่สุดคือการสังเกตอาการตนเองและรีบทำการรักษาให้เร็วที่สุด แต่เมื่อเรามีอาการแล้วเราควรทำอย่างไรไม่ให้อาการเป็นมากขึ้นดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการโรคเครียดควรดูแลตนเอง โดยการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. เมื่อเจอสถานการณ์ร้ายแรงที่ไม่อาจควบคุมได้ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ เพื่อไม่ให้อาการเครียดเป็นมากขึ้น
  2. หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอหรือทำกิจกรรมที่ได้พบปะผู้คน  และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. ฝึกสมาธิ หรือเล่นโยคะ 
  4. ฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออก
  5. ไปนวดหรือทำสปา เพื่อให้รางวัลกับร่างกายและเป็นการผ่อนคลายที่ดี 
  6. หางานอดิเรกที่ชอบทำในยามที่ว่าง เช่น การเล่นกีฬา  ดูหนัง ฟังเพลงหรืออ่านหนังสือ 
  7. ออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆหรือหมู่ญาติ เพื่อจะได้พดคุยแลกเปลี่ยนความคิด ฯลฯ

ความเครียดหรือโรคเครียด เป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ดังนั้นการหมั่นสังเกตตนเองและคนรอบข้างถือเป็นเรื่องที่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะอย่างน้อยโรคเครียดนี้ก็ยังสามารถรักษาได้ถ้าเราทราบตั้งแต่เริ่มต้น  เริ่มที่ตัวเราก่อนและต่อไปคือคนที่คุณรัก ญาติพี่น้องต่อด้วยเพื่อนฝูงและคนรอบข้าง

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก