อากาศและสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 คืออันตรายและเป็นปัญหามลภาวะทางอากาศที่รุนแรง เนื่องจากจมูกไม่สามารถกรองฝุ่นนี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ รวมทั้งโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ PM 2.5 คืออะไร แหล่งกำเนิด อันตราย และควรป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองเหล่านี้ได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
PM 2.5 คืออะไร
PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ หรือเล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ เมื่อฝุ่นละอองสามารถเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายโดยแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ก็จะเป็นพาหะนำสารอื่น ๆ เข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็ง
แหล่งกำเนิดและที่มาของฝุ่น PM 2.5
ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 มีแหล่งกำเนิดและที่มาจากสองแหล่งใหญ่ ๆ ได้แก่
- แหล่งกำเนิดโดยตรง เช่น การเผาไหม้ขยะสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ การเผาในที่โล่ง การจราจร โรงงานอุตสาหกรรมการผลิต การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า และฝุ่นละอองจากครัวเรือน
- การรวมตัวของก๊าซอื่น ๆ ในบรรยากาศ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ออกไซด์ของ ไนโตรเจน สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
ระดับความรุนแรงของ PM2.5
สำหรับระดับความรุนแรงของ PM 2.5 องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) จัดไห้ฝุ่นละอองชนิดนี้อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ประกอบกกับแหล่งกำเนิด PM 2.5 มีทั้งการปล่อยโดยตรงจากแหล่งกำเนิดไม่ว่าจะเป็น การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การเผาในที่โล่ง และอุตสาหกรรมการผลิต ระดับความรุนแรงจึงขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ใดมีแหล่งกำเนิดแบบใดเป็นหลัก และจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศ โดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์ หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น
PM 2.5 อันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นขนาดเล็กสามารถแทรกซึมเข้าไปในร่างกายได้โดยตรงจากการหายใจ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว และสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง ส่งผลอันตรายต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆในร่างกาย เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง หรือถึงขั้นเป็นมะเร็ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า PM 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกายเราทั้งภายนอก และภายใน ดังนี้
ผลกระทบทางสุขภาพภายในร่างกาย ได้แก่
- เกิดอาการระคายเคืองไอ จาม หรือภูมิแพ้
- ผู้ที่เป็นโรคหอบ หรือภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้อาการรุนแรงมากขึ้น
- ส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดเลือด
- เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด
- สมองมีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น
ผลกระทบภายนอก(ทางผิวหนัง)
- ทำให้เกิดผื่นภูมิแพ้ หรือมีผื่นคันตามตัว
- ส่งผลให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน มีอาการระคายเคือง
- ส่งผลต่อสุขภาพผิว เนื่องจากทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย
- เป็นลมพิษหรือเกิดผื่นลมพิษ หากอาการรุนแรงหรือได้รับฝุ่นละอองที่มีค่าเกินมาตรฐานอาจเกิดลมพิษทั่วร่างกาย
- อาจส่งผลต่อสุขภาพตา หรือเป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบ
สัญญาณเตือนเมื่อร่างกายได้รับละอองฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน
- มีอาการแสบจมูก มีน้ำมูก ไอจาม
- มีอาการไข้ ตัวร้อน
- บริเวณผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มผื่นนูนแดงกระจายบนผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการหายใจลำบาก มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ คัน แน่นในโพรงจมูก แน่นหน้าอกรวมทั้ง ไอ จาม มีน้ำมูกแบบใสๆ
- ส่งผลต่อดวงตา มีอาการตาแดง เปลือกตาบวม มีน้ำตาไหล ใต้ตาช้ำมีสีคล้ำขึ้น
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อละอองฝุ่น PM 2.5
- ผู้สูงอายุ และเด็ก
- คุณแม่ตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง และภูมิแพ้ต่าง ๆ
- บุคคลทั่วไปที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีต่าง ๆ
การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 อย่างถูกวิธี
การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ทำได้หลากหลายวิธีทั้งการป้องกันตนเองในวิถีชีวิตประจำวัน และการป้องกันตนเองช่วงวิกฤตที่มีละอองฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน ดังนี้
วิธีป้องกันตนเองช่วงวิกฤตอองฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เช่น
- ควรปิดประตู หน้าต่างเพื่อป้องกันฝุ่นละอองในช่วงวิกฤต
- ปิดห้องแอร์ให้สนิทช่วยลดฝุ่นพิษ
- สำหรับห้องที่ไม่ติดแอร์ การใช้พัดลมร่วมกับการใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดมีแผ่นกรอง สามารถลดปริมาณฝุ่นควันได้เช่นเดียวกัน
- ดูแลระบบปรับอากาศและกรองอากาศภายในรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ
- ในช่วงเวลาที่อากาศมีฝุ่นควัน PM2.5 ในปริมาณสูงจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพควรงด
- หลีกเลี่ยงการออกไปข้าง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์
- ออกกำลังกายหรือสวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้านหรือนอกอาคาร
วิธีป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองในวิถีชีวิตประจำวัน
- การใช้เครื่องฟอกอากาศภายในบ้านในอาคาร ช่วยลดปริมาณของฝุ่น PM 2.5 ให้น้อยลงได้
- ใช้หน้ากากกันฝุ่นเป็นประจำ
- กรณีมีโรคประจำตัวหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเตรียมยาให้พร้อมหรือยาติดกระเป๋าไว้เสมอ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมเผาไหม้ทุกชนิด เพราะการเผาทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศมากขึ้น
- ใช้เครื่องปรับอากาศที่มีระบบหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน
- หมั่นทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ สำหรับเช็ดทำความสะอาดสิ่งต่าง ๆ และทำความสะอาดพื้นด้วยไม้ถูพื้นชุบน้ำ จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองภายในบ้านได้
- หมั่นสังเกตตนเอง หากพบผื่นเรื้อรังที่มีการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเนื้อนูนขึ้นมา ควรพบแพทย์
การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 นอกจากทำความเข้าใจลักษณะและสาเหตุการเกิดฝุ่นละลองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อหาแนวทางและวิธีป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องแล้ว การปรับภูมิทัศน์ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ในสำนักงานด้วยการปลูกต้นไม้ทั้งไม่ยืนต้น ไม้ประดับและต้นไม้ที่สามารถดูดซับฝุ่นและมลพิษก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สามารถทำได้ไม่ยาก
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -