รู้ทัน มะเร็งปอด โรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือน

มะเร็งปอด

มะเร็ง” คือโรคร้ายแรงและน่ากลัวสำหรับทุกคน เพราะนอกจากเกิดขึ้นได้กับอวัยวะเกือบทุกส่วนภายในร่างกายของคนเราแล้ว ปัจจุบันมะเร็งเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษา อันตรายที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของโลกก็คือ มะเร็งปอดและในประเทศไทยยังมีข้อมูลระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งปอดมีอัตราการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับและท่อน้ำดี เพื่อรู้ทันอาการของโรค ทำให้เราสามารถป้องกันตนเองจากโรคร้ายเหล่านี้ วันนี้  aufarm.shop มีความรู้ดี ๆ มาแนะนำ

มะเร็ง คืออะไร ?

ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปอด ผู้ป่วยจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เพราะเมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องก็จะทำให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง มะเร็งแต่ละชนิด ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับมะเร็ง เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เป็นโรคไม่ติดต่อ โดยความผิดปกติของเซลล์จะส่งผลทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อ ตุ่ม ไต หรือเนื้องอกภายในร่างกายหรือบริเวณผิวหนัง เมื่อเกิดความผิดปกติของก้อนเนื้อก็จะทำให้เซลล์เหล่านั้นตายไปเพราะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงจนกลายเป็นเนื้อร้าย

มะเร็งปอด โรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือน

มะเร็งปอด คือ เซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปอดที่มีความผิดปกติ และเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย การตรวจพบในระยะแรกนั้นทำได้ยากเพราะผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดง ความน่ากลัวของมะเร็งปอด จากสถิติภายในระยะเวลา 5 ปี คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอด มีอัตราการรอดชีวิตเพียง 13% เท่านั้น

บุหรี่

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด

  1. การสูบบุหรี่ สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด โดยอัตราเสี่ยงจะสูงขึ้นตามจำนวนบุหรี่ที่สูบ พบว่าในคนที่สูบบุหรี่จัด ประมาณ 40 มวน/วัน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคสูง และยังรวมถึงคนที่ไม่ได้สูบแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน
  2. การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม หรือได้รับจากการประกอบอาชีพ เช่น ฝุ่นและไอระเหยจาก นิกเกิล โครเมียมและโลหะอื่น ๆ
  3. ปัจจัยทางพันธุกรรม จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนหนึ่งมักมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งปอดมาก่อน
  4. อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุเนื่องจากอวัยวะรวมถึงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง โดยผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัด และผู้ที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีกลิ่นและควันบุหรี่เป็นประจำ

อาการของผู้ที่ป่วยมะเร็งปอด

มะเร็งปอด ถือเป็นโรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน โดยระยะแรกเริ่มจะไม่แสดงอาการใด ๆ เมื่อตรวจพบหรือเริ่มมีความผิดปกติก็ต่อเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3-4 แล้ว ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  1. มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเวลานาน มีเสมหะเป็นเลือด เสียงแหบ เจ็บหน้าอกเมื่อไอ
  2. มีปัญหาด้านการหายใจ มีอาการหายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยหอบตลอดเวลา หายใจมีเสียงหวีด
  3. เบื่ออาหาร เกิดจากเนื้อร้ายไปกดเบียดหลอดอาหารทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบากจึงไม่อยากทานอาหาร 
  4. ร่างกายอ่อนเพลียง่าย
  5. น้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ

การวินิจฉัยหรือตรวจหามะเร็งปอด 

  1. การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจทางรังสีวิทยา ที่ใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพทรวงอกลงบนแผ่นฟิล์ม การตรวจเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจที่แพทย์นิยมสั่งตรวจมาก เพราะสามารถช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องอก เช่น ปอด หัวใจ กระดูกซี่โครง ได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว
  2. ส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อ เป็นการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ โดยเจาะรูที่ผนังทรวงอก และส่องกล้องเข้าไปตัดชิ้นเนื้อออกมา
  3. ตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี ซีทีสแกนเป็นการถ่ายภาพแบบสามมิติ โดยนำ ภาพที่ถ่ายด้วยรังสีเอกซ์หลาย ๆ ภาพมาประกอบกัน และสร้างเป็นภาพสามมิติของร่างกาย ทำให้มองเห็นโครงสร้างภายในปอดได้ละเอียด จึงช่วยให้ตรวจหาก้อนมะเร็งได้ถูกต้องชัดเจน

วิธีการรักษามะเร็งปอด

การรักษาโรคมะเร็งปอด แพทย์จะพิจารณาจากอาการ และความรุนแรงของโรค รวมทั้งพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  1. การผ่าตัด เป้าหมายการรักษาด้วยวิธีนี้เพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมด
  2. การฉายรังสี เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง เพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น วิธีนี้ใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
  3. การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบ ยาฉีดเข้าเส้นเลือด
  4. การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่นยาเคมีบำบัด
  5. การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป มะเร็งปอด แม้จะเป็นโรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน และเมื่อตรวจพบหรืออาการแสดงออกก็จะอยู่ในภาวะรุนแรงและทำการรักษาได้ยาก การรู้ทันโรคและหมั่นออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หยุดสูบบุหรี่หรือเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ และหมั่นตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปีหรือทุก 6 เดือนอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันตนเองจากมะเร็งปอดได้แล้ว
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก