อาหารเป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ง่ายและป้องกันได้ยาก ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปแต่อาการมักไม่รุนแรง และทุเลาได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง ส่วนในรายที่มีอาการอย่างรุนแรง ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของเชื้อที่ร่างกายได้รับเข้าไป อย่างไรก็ดีแม้อาหารเป็นพิษจะสามารถทุเลาได้เอง แต่หากเกิดในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือในผู้สูงอายุ ก็เป็นอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนได้
อาหารเป็นพิษ คืออะไร ?
อาหารเป็นพิษ หมายถึง อาการท้องเดินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการกินอาหารเข้าไปแล้วมีอาการ เช่น ปวดท้อง ท้องสีย อาเจียน อาจเกิดขึ้นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อโรคที่ปนเปื้อน อาการที่ไม่รุนแรงสามารถหายได้เอง นอกจากมีภาวะอื่น ๆ แทรกซ้อนเช่น ท้องเสียไม่หยุดและรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำลักษณะอาการของอาหารเป็นพิษ
ผู้ที่ได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน หรือบางคนอาจมีอาการหลังรับประทานอาหารเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยลักษณะอาการของอาหารเป็นพิษ ได้แก่- รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
- อาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ หรือ ถ่ายอุจจาระปนเลือดหรือมูก
- มีอาการปวดมวนท้อง ทำให้รู้สึกทรมานจากอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพัก ๆ
- รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะน้อย จากการที่ร่างกายสูญเสียหรือขาดน้ำ
- ปวดศีรษะ หรือมีอาการวิงเวียนศีรษะ
สาเหตุของอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย และรองลงมาคือ เชื้อไวรัส รวมทั้งการปนเปื้อนสารพิษอื่น ๆ เช่น สารเคมี พืชพิษ สัตว์พิษที่ไม่ใช่จากเชื้อโรค ที่พบได้บ่อย ๆ คือ จากเห็ดพิษ อาหารทะเล สารหนู และสารตะกั่วอาการรุนแรงที่ต้องรีบพบแพทย์
- มีภาวะขาดน้ำ มักมีอาการ ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย ปัสสาวะมีสีเข้ม หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืด
- ผู้ใหญ่ท้องเสียติดต่อกัน 3 วัน ส่วนเด็กอาจท้องเสียติดต่อกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย
- อาเจียนต่อเนื่องนานกว่า 12 ชั่วโมง
- มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ
- ตามัวหรือมองเห็นภาพไม่ชัด
- ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยที่อาการปวดท้องไม่ลดลงเลยหลังจากอุจจาระไปแล้ว
- ท้องเสียร่วมกับมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
ภาวะแทรกซ้อนของอาหารเป็นพิษ
ภาวะแทรกซ้อนที่พบในบ่อย โดยเฉพาะในรายที่มีอาการถ่ายมาก อาเจียน ได้แก่ ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ อาจรุนแรงถึงภาวะช็อก กรณีได้รับเชื้อโรคที่เป็นสารพิษภาวะแทรกซ้อนอาจต่างกันไป เช่น มีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ เกิดการแท้งบุตรในหญิงตั้งครรภ์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพาต โลหิตเป็นพิษแทรกซ้อน หรือโรคไตการวินิจฉัยอาการอาหารเป็นพิษ
แพทย์จะวินิจฉัยโดยพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบ เริ่มจากซักถามประวัติเพื่อหาสาเหตุ เช่น อาการของผู้ป่วย อาหารที่รับประทาน ระยะเวลาที่มีอาการ กรณีมีอาการถ่ายท้องรุนแรงหรือเรื้อรัง แพทย์จะตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยการการตรวจเลือด ตรวจหาปริมาณเกลือแร่ในเลือดและตรวจการทำงานของไต หรือการตรวจอุจจาระ เพื่อตรวจหาชนิดของเชื้อโรคการรักษาอาการอาหารเป็นพิษ
ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคแล้วแพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่- อาการอาหารเป็นพิษที่ไม่รุนแรง จะให้การรักษาตามอาการและให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
- ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษที่มีอาการรุนแรง ถึงขั้นขาดน้ำรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ จนกว่าอาการอาหารเป็นพิษจะทุเลา
- หากการวินิจฉัยพบว่า เกิดจากสาเหตุอื่น ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่พบว่าเป็นบิดชิเกลล่า หรืออหิวาต์
วิธีป้องกันตนเองจากอาหารเป็นพิษ
- เลือกอาหารที่ผ่านการปรุงสุกใหม่ ๆ รับประทานอาหารที่สด สะอาด
- ดื่มน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุก
- เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากหนู แมลง หรือสัตว์อื่น
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีการปนเปื้อน เพื่อถนอมอาหารหรือปรุงแต่งรส แต่งสี และกลิ่น
- อาหารที่ค้างมื้อ ก่อนรับประทานต้องทำให้สุกใหม่ก่อนเสมอ
- ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารหรือรับประทานอาหาร
- แยกอาหารดิบและอาหารสุก เพื่อระมัดระวังการปนเปื้อน
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -