เส้นเลือดหัวใจตีบ เจ็บแน่นหน้าอกแบบไหน สัญญาณบ่งบอก

เส้นเลือดหัวใจตีบ

“ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ประโยคที่มีความหมายไม่ได้เกินไปจากความเป็นจริง เพราะการไม่มีโรคไม่มีปัญหาสุขภาพถือเป็นความโชคดี โดยเฉพาะโรคบางอย่างที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร แต่คนที่ไม่มีอาการบ่งบอก หรือไม่เคยไปตรวจสุขภาพประจำปี ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปราศจากโรคภัย เพราะภัยเงียบจากโรคร้ายเกิดขึ้นได้เสมอ เส้นเลือดหัวใจตีบ คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรไว้วางใจเพราะอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการบ่งบอก

เส้นเลือดหัวใจตีบ คืออะไร ?

เส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจากหลอดเลือดที่เข้าไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบแคบลง เนื่องจากมีคราบไขมันและหินปูนไปเกาะภายในผนังหลอดเลือด ทำให้ปริมาณเลือดไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอตามความต้องการ ทำให้โรคนี้เป็นสาเหตุของการตายอยู่ในอันดับต้น ๆ ของคนไทย

อาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 

เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคอันตรายที่บางครั้งอาจไม่มีสัญญาณใด ๆ บ่งบอกเลย เช่นผู้ที่เป็นโรคประจำตัวหรือเป็นผู้ป่วยเบาหวาน อาจจะไม่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก แต่จะมีอาการหัวใจวาย เช่น เหนื่อยหอบง่าย บางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหัวใจหยุดเต้น ส่วนอาการรที่พได้จากโรคนี้คือ เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อออกแรง แต่เมื่อนั่งพักจะดีขึ้น

ความรุนแรงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

อาหารของผู้ป่วยในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หากนำตัวส่งโรงพยาบาลไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 2

เส้นเลือดหัวใจตีบหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่เกิดจากผนังหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัว เนื่องจากมีไขมันเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือดที่เรียกว่า  “ตะกรันท่อหลอดเลือด”  ซึ่งจะค่อยๆพอกตัวหนาขึ้นจนทำให้ช่องทางเดินของเลือดตีบและแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย  เมื่อมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นในการเผาผลาญให้เกิดพลังงาน หากเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้นชั่วขณะ

ในกรณีที่ตะกรันท่อหลอดเลือดที่เกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจเกิดการฉีกขาดหรือแตก  เกล็ดเลือดก็จะจับตัวเป็นลิ่มเลือดอุดตันช่องทางเดินเลือด หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นเวลานานจนเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือที่เรียกว่า “โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน”

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยแบ่งออกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้  และปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุม ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

  1. เพศ เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่พบว่าผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่า แต่เมื่อเข้าสู่วัยทองผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น
  2. กรรมพันธุ์ ลักษณะของโรคนี้ พบว่าหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมาก่อน ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็สูงด้วยเช่นกัน
  3. อายุ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ พบว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปหรือมากกว่า 55 ปีในผู้ชายและอายุ 60 ปีหรือมากกว่า 65 ปีในผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าคนอายุน้อย

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

  1. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่าผู้ที่นั่งอยู่กับที่มีอกาสเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมากถึง 2 เท่า นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงอีกด้วย
  2. พฤติกรรมการบริโภค พบว่าการรับประทานอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป  มีโอกาสเกิดคอเลสเตอรอลสูง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือเส้นเลือดหัวใจตีบ
  3. การดื่มกาแฟ ในคนที่ดื่มกาแฟมาก ๆ วันละ 3-4 แก้วหรือมากกว่า จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้น และมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  4. น้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน และมีไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  5. ภาวะเครียด ในคนที่มีความเครียดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเกิดการทำลายของชั้นเซลล์ผนังหลอดเลือด
การผ่าตัด

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยวิธีผ่าตัด

  1. การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องเปิดช่องอก ต้องใช้ยาเพื่อหยุดการเต้นของหัวใจและใช้อุปกรณ์พิเศษช่วย เพื่อให้เลือดยังสามารถไหลเวียนไปทั่วร่างกายโดยไม่ผ่านหัวใจ จนกว่าการผ่าตัดจะเสร็จสิ้น
  2. การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจ วิธีการผ่าตัดบายพาสแบบนี้จะเปิดช่องอกคล้ายกับวิธีแรก แต่แพทย์จะไม่ใช้ยาเพื่อหยุดการเต้นของหัวใจและจะไม่ใช้อุปกรณ์พิเศษที่ใช้สูบฉีดเลือด
  3. การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบแผลเล็ก  เป็นการผ่าตัดด้วยอุปกรณ์พิเศษ ซึ่งจะทำให้แพทย์ไม่ต้องทำการเปิดช่องอก มักนิยมทำในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของหัวใจ วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจมากกว่า 1 เส้น

การดูแลหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

  1. แพทย์ จะให้คนป่วยพักในห้อง CCU ประมาณ 2 วัน เพราะเมื่อออกมาจากห้องผ่าตัดใหม่ ๆ คนไข้อาจมีท่อช่วยหายใจอยู่ด้วย เมื่อคนไข้ฟื้นดีแล้ว พยาบาลจะนำท่อช่วยหายใจออก  เพื่อให้คนป่วยหายใจเอง
  2. เมื่อคนป่วยหายใจเอง จะถูกส่งตัวจากห้อง CCU ไปพักที่ห้องพักที่มีเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจ
  3. กรณีที่คนป่วยแข็งแรง สามารถเดินไปห้องน้ำได้เอง แต่ก็จะต้องมีนักกายภาพบำบัดเข้ามาคอยดูแล ช่วยฟื้นฟู โดยปกติแล้วคนไข้จะพักฟื้นที่โรงพยาบาลราว 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด 
  4. หลังจากกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการและ

ผลการรักษา

เส้นเลือดหัวใจตีบ แม้จะเป็นโรคที่บางครั้งอาจไม่แสดงอาหารหรือมีสัญญาณบ่งบอก การตรวจสุขภาพประจำ คือแนวทางหนึ่งที่ช่วยป้องอันตรายจากโรคนี้ได้ หรือหากมีอาการเจ็บหน้าอกไม่ว่าจะลักษณะใด ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการในเบื้องต้น เพื่อช่วยให้ห่างไกลและปลอดภัยจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก