เตือน !! อย่าไว้ใจอาการไอเรื้อรัง

ไอเรื้อรัง
อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย เป็นการขับเอาสิ่งที่ตกค้างในทางเดินหายใจ ด้วยการเอาอากาศเข้าไปในช่องท้อง และหน้าท้อง จากนั้นก็จะเกิดการหดตัวของหน้าท้อง พร้อม ๆกับการเปิดกล่องเสียง และขับเอาสิ่งที่อยู่ตกค้างอยู่ให้ออกมา การไอหากเกิดบ่อยๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ดังนั้นหากมีอาการไอเรื้อรัง เป็นเวลานาน ๆโดยไม่ทราบสาเหตุก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนั่นคือการไอเรื้อรังที่เตือนว่าร่างกายอาจมีโรคบางอย่างแฝงอยู่

ไอเรื้อรัง คืออะไร ?

อาการไอ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง และสารแปลกปลอมอื่น ๆ ลักษณะการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-8 สัปดาห์ และไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่าหรือเท่ากับ 8 สัปดาห์

สาเหตุของอาการไอเรื้อรัง

การไอ อาจเป็นแค่การไอแห้ง ๆ ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองคอหรืออาจมีเสมหะปนออกมา หากมีอาการเพียงเท่านี้ ก็ไม่ถือเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับโรคร้ายอื่น ๆ  แต่ถ้าหากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การไอเรื้อรัง แบบรุนแรง ขณะไอมีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บคอ หายใจลำบาก มีเสมหะที่มีเลือดปนออกมา ไอติดต่อกันนาน คือมีระยะเวลาของการไอมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป สาเหตุอาจเกิดได้จาก 
  1. โรคภูมิแพ้หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ หรือเป็นโรคในช่องจมูก เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหืดหอบ โรคไซนัส และอาการของโรคภูมิแพ้มักเป็นโรคที่พบว่าสามารถทำให้มีอาการ ไอเรื้อรังได้มากที่สุด 
  2. โรคในช่องคอ เช่นโรคเส้นเสียงอักเสบ ซึ่งสาเหตุมาจากการใช้เสียงมากเกินไป โรคต่อมทอนซิลอักเสบ มักมีอาการไข้ เจ็บคอเมื่อกลืนน้ำลาย
  3. โรคร้ายแรง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ร่างกายจะขับออกมาได้ด้วยการไอ เพราะมีก้อนเนื้อไปกดทับที่บริเวณปอดเช่น การเป็นโรคมะเร็งที่ปอด หรือเป็นโรคเนื้องอกบริเวณหลอดลมและกล่องเสียง จึงทำให้มีการไอเรื้อรังไม่หาย
  4. โรคอื่น ๆ ที่แฝงอยู่กับโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น วัณโรคปอด ถือเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องรีบทำการรักษา โรคหอบหืดซึ่งมักเป็นคู่กับโรคภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอด

การวินิจฉัยโรคไอเรื้อรัง

ไอเรื้อรัง สามารถเป็นอาการของโรคอื่น ๆได้หลายโรค การวินิจฉัยจึงจำเป็นต้องใช้การตรวจและการวินิจฉัยจากแพทย์หลาย ๆด้าน เพื่อให้ทราบผลอย่างแน่ชัด สำหรับขั้นตอนแพทย์อาจปฏิบัติ ดังนี้
  1. แพทย์จะทำการซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของโรค โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ เช่น ประวัติการเป็นของคนในครอบครัว อาการต่างๆ การสัมผัสสารที่อาจทำให้เกิดการแพ้ หรืออาการที่อาจเป็นโรคอื่นๆได้อีกเช่น โรคเส้นเสียงอักเสบ โรคกรดไหลย้อน
  2. ตรวจระบบทางเดินหายใจ หากมีความผิดปกติก็อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆเช่น ส่องกล้องดูระบบทางเดินหายใจ ตรวจเสมหะ ตรวจสมรถภาพปอดด้วยการใช้หูฟัง ฟังเสียงหายใจเข้าและออก หรือถ่ายภาพรังสีของโพรงจมูก เอ็กซเรย์ช่องอกเพื่อตรวจหาความผิดปกติของปอด  

วิธีการรักษาโรคไอเรื้อรัง

การรักษาโรคไอเรื้อรัง สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบแน่ชัดก่อนเป็นอาการไอเรื้อรังจากสาเหตุใด หรือเป็นอาหารของโรคชนิดใด แล้วจึงทำการรักษาตามแนวทางหรือวิธีการของโรคนั้น ๆ  ไอ เจ็บคอ

วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการไอ

โรคไอเรื้อรัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นอาการไอที่ไม่ร้ายแรงสามารถหายได้เองเพียงบำรุงดูแลตนเองหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และอาจเป็นอาหารของโรคร้ายแรง สำหรับแนวทางการรักษากรณีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้ยาแก้ไอ ร่วมกับยาอื่น ๆ เช่น ยาละลายเสมหะหรือยาอม เพื่อรักษาในเบื้องต้นก่อน รวมทั้งผู้ป่วยต้องดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้
  1. หากการไอเกิดจากการเป็นภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะต้องหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่กระตุ้นแล้วร่างกายแพ้ จนทำให้เกิดการไอมากยิ่งขึ้น เช่น ฝุ่นละอองต่าง ๆ ควันบุหรี่ สารเคมี ละอองเกสร ขนแมว ขนสุนัข 
  2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรืองดไปอยู่ในที่ที่มีควัน เช่นควันธูป ควันไฟ
  3. หลีกเลี่ยงจากการสัมผัส อากาศเย็นๆโดยตรงเช่น จากพัดลมหรือจากแอร์ เพราะอากาศที่เย็นจัดจะทำให้หลอดลมหดตัวเล็กลง ก็จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการไอถี่ๆมากยิ่งขึ้น
  4. พักผ่อนให้เพียงพอทุกวัน ขณะนอนพักผ่อนต้องทำร่างกายให้มีความอบอุ่นเช่นห่มผ้า ใส่ถุงเท้า เพื่อป้องกันอากาศเย็น
  5. โรคร้ายแรงบางชนิดสามารถป้องกันด้วยการตรวจพบแต่เนิ่น ๆ ได้ เช่นโรคมะเร็งปอด หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรตรวจเพิ่มร่วมไปกับการตรวจสุขภาพประจำปีได้
ไอเรื้อรังที่มีอาการมากกว่า 8 สัปดาห์ แม้จะเป็นการไอที่ไม่มีสัญญาณหรืออาการร้ายแรงใด ๆร่วมด้วย เช่น ไม่มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือมีรสเปรี้ยวในปาก  ไม่เจ็บหน้าอกขณะไอ ก็อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาการไอเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงหลายชนิด หากอาการไออยู่ในขั้นเรื้อรังหรือไอนานกว่า 8 สัปดาห์ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรีบทำการรักษา
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก