อาการจุกลิ้นปี่ แน่นกลางอก เรอบ่อย และแสบร้อนท้อง เป็นอาการของกรดไหลย้อน โรคที่ไม่รุนแรงแต่สร้างความทุกข์ทรมานและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และหากไม่ได้ดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่พบได้คือโรคคอและกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เรื้อรัง โรคหืด และฟันผุง่ายจากช่องปากเป็นกรด ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อาจทำให้เซลล์ที่อักเสบเรื้อรังกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
อาการกรดไหลย้อน 3 ระยะ และการรักษา
การเกิดโรคกรดไหลย้อน แม้จะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมีอายุที่มากขึ้นทำให้เซลล์เนื้อเยื่อทุกชนิดของร่างกายจะเสื่อมลง เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย แต่สาเหตุที่พบได้มาก ได้แก่พฤติกรรมการบริโภค กรดไหลย้อน สาเหตุหนึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์จนเกิดปัญหาขึ้น โดยแบ่งระยะความรุนแรงของโรคออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
กรดไหลย้อน ระยะที่ 1
กรดไหลย้อนระยะแรก เกิดจากกระเพาะอาหารอ่อนแรงหรือมีปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา รับประทานอาหารรสจัด หรือไม่ชอบทานผัก ลักษณะอาการของกรดไหลย้อนระยะที่ 1 ได้แก่
- ท้องอืดบ่อย เนื่องจากเกิดลมในท้องได้ง่าย
- หลังจากกินอาหารแล้ว มักทำให้จุกแน่น อึดอัดเหมือนมีอะไรมาจุกที่ลำคอ หรือ ลิ้นปี่
- มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณบ่า เพราะมีลมมากในลำไส้
- หน้าตา ผิวพรรณ ไม่สดใส
- มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่หรือทรวงอก เพราะอาจมีแผลในกระเพาะอาหาร
กรดไหลย้อน ระยะที่ 2
ระยะนี้เกิดจากกระบวนการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์เป็นเวลานาน ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะเนื่องจากอาหารที่ย่อยได้ไม่หมดตกค้างอยู่ในลำไส้ปริมาณมาก ผู้ป่วยจะมีอาการจุกแน่น เริ่มมีกลิ่นปาก ผายลมเหม็น มีลมในท้องได้ตลอดเวลา ขับถ่ายไม่ตรงเวลา หรืออาจจะมีอาการท้องผูกเรื้อรังร่วมด้วย ความรุนแรงของโรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่
- กระเพาะอาหารและม้ามจะเย็นชื้น และอ่อนแรงทำให้ลมดันขึ้นได้ง่าย
- ลำไส้มีอุจจาระตกค้างมาก ทำให้มีจุลินทรีย์ที่ไม่ดีที่สร้างแก๊สอยู่ตลอดเวลา
- หากมีแก๊สมากลำไส้จะเคลื่อนไหวได้น้อยลง ทำให้มีโอกาสท้องผูกร่วมด้วย
กรดไหลย้อน ระยะที่ 3
ระยะนี้ เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์เป็นเวลานาน ทำให้สารอาหารในเลือดเหลือน้อยลงมาก ภาวะที่รุนแรงแรงของโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้
- มีอาการจุกแน่นท้อง และมีอาการจุกแน่นถึงคอ
- มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
- เมื่อรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาจะรู้สึกแสบท้อง
- อ่อนเพลีย และเวียนศีรษะง่าย เพราะสารอาหารในเลือดน้อยลงมากจนอวัยวะภายในทำงานได้น้อย บางคนอาจมีอาการบ้านหมุน
- อาหารตกค้างในลำไส้เป็นเวลานานทำให้สมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้แย่ลง
การวินิจฉัยโรคของแพทย์และขั้นตอนการรักษา
แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยอาการและภาวะความรุนแรงของกรดไหลย้อน เพื่อหาแนวทางการรักษา เริ่มจากการซักประวัติสอบถามอาการและตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอน ต่อไปนี้
- การส่องกล้องทางเดินอาหาร
- การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง
- การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
- ตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร
- ตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร
เมื่อตรวจวินัยอาการของโรคแล้ว แพทย์จะทำการรักษาภาวะกรดไหลย้อนตามอาการซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น รักษาตามอาการโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค รักษาด้วยการทานยาเคลือบกระเพาะอาหาร การผ่าตัด และรักษาด้วยสมุนไพรหรือหลาย ๆ วิธีร่วมกัน
วิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน
การดูแลตัวเองของผู้ป่วยกรดไหลย้อน นอกจากทานยาหรือปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรค ดังนี้
- หมั่นสังเกตอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้อาการของโรคกำเริบ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคได้
- เรียนรู้และทำความเข้าใจกับอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้อาการกำเริบ
- จำกัดอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง ทานอาหารอิ่มใหม่ ๆไม่ควรนอนทันที ควรรอให้อาหารย่อยผ่านกระเพาะอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
- ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรนอนในท่าเอนตัวเสมอ ไม่นอนราบ
- ควรควบคุมหรือลดน้ำหนักเมื่อมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
- เมื่อมีอาการกำเริบตอนเข้านอน ควรหนุนศีรษะให้สูง 6-10 นิ้ว โดยการหนุนขาเตียงด้านศีรษะให้สูง ไม่ควรหนุนหมอนให้สูงขึ้นเพราะอาจจะทำให้ท้องโค้งงอ และความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นได้
- ควรออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายอย่าปล่อยให้เกิดความเครียด
- ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าหรือรัดเข็มขัดจนแน่น เพราะเป็นการเพิ่มความดันต่อกระเพาะอาหาร
- ทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณบรรเทาโรคกรดไหลย้อนได้ เช่น กะเพรา กระเจี๊ยบเขียว ขมิ้นชัน ขึ้นฉ่าย ย่านาง และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตของผู้ป่วย การรู้ทันหรือศึกษาอาการ สาเหตุ และภาวะความรุนแรงของโรค ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ทานยาตามแพทย์สั่งและไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้อาการของโรคกำเริบ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากอาการกรดไหลย้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แล้ว