มะเร็งเต้านมภัยใกล้ตัวของผู้หญิง ที่สาเหตุของโรคส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมและปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งล้วนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมทั้งอายุที่มากขึ้น และยังถือเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการเบื้องต้นของมะเร็งเต้านม มักไม่มีสัญญาณเตือนหรือมีอาการบ่งบอกมาก่อน เมื่อตรวจพบความผิดปกติอาการก็จะอยู่ในขั้นรุนแรงหรือต้องทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเท่านั้น แล้วเราจะรู้ทันอาการของมะเร็งเต้านมได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบมาให้ครับ
มะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
ปัจจุบันพบว่า “โรคมะเร็ง” คือโรคอันดับหนึ่งที่มียอดผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด นี่คือความน่ากลัวของมะเร็ง และคนทุกคนก็มีโอกาสเป็นมะเร็งได้เท่า ๆ กัน ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ชีวิตของทุกคน ที่ไม่ได้ใส่ใจกับการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร มีภาวะเครียดในเรื่องต่าง ๆ ไม่ออกกำลังกาย หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สำหรับผู้หญิง มะเร็งเต้านม คือภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องให้ความสำคัญและต้องหมั่นตรวจสุขภาพของตนเอง หากพบความผิดปกติก็จะสามารถดูแลรักษาได้ทัน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งเต้านม แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย หรือเกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ดังนี้
- เกิดจากพันธุกรรม การตรวจพบมะเร็งเต้านม มักพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคนี้ก่อน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของยีน BRCA จะพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุน้อย คือช่วงอายุ 30-40 ปี และมีสมาชิกภายในครอบครัวหลายคนเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่
- อายุ ผู้ป่วยเมะเร็งเต้านม มักพบได้มากในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อายุต่ำกว่า 40 ปี พบได้น้อยเพียงร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด
- ฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนเพศคือปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม เห็นได้จากการตรวจพบมะเร็งเต้านมในเพศหญิง ที่มีมากกว่าเพศชายถึง 100 เท่า นอกจากนั้นผู้ที่เป็นประจำเดือนเร็วหรือเป็นครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย รวมถึงคนที่หมดประจำเดือนช้าจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าคนอื่น ส่วนผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ขณะอายุยังน้อย
- คนที่มีประวัติการได้รับรังสีบริเวณหน้าอก เมื่ออายุยังน้อย เช่น ฉายรังสีไปที่ผนังทรวงอกเพื่อวินิจฉัยอาการของโรคอื่น ๆ
- เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กินอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือมีภาวะอ้วนหลังหมดประจำเดือน หรือการกินฮอร์โมนเสริม ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง
ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ทั้งสิ้น การตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญ และหากตรวจมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ย่อมช่วยไม่ให้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ การตรวจมะเร็งเต้านม นอกจากการตรวจเต้านมด้วยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม ผู้หญิงทุกคนก็สามารถตรวจและสังเกตการเปลี่ยนแปลงร่างกายของตนเองได้ ดังนี้
- คลำได้ก้อนแข็งในเต้านม
- สังเกตพบความเปลี่ยนแปลงของลักษณะผิวเต้านม มีก้อนขรุขระ หรือมีแผลที่ไม่หาย ผิวหนังแข็ง หรือมีสีเปลี่ยนแปลง
- ลักษณะของผิวเต้านมเห็นรอยรูขุมขนชัดขึ้น ซึ่งทำให้ดูคล้ายลักษณะของผิวส้มซึ่งเกิดจากมีเซลล์มะเร็งอยู่ใต้ชั้นผิวหนังในบริเวณหลอดน้ำเหลือง
- มีรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านม หัวนมบุ๋ม มีเลือดหรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
- เกิดความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามที่เต้านมเพียงข้างเดียว
สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมที่ต้องพบแพทย์
ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ฉะนั้นหากพบสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมตามที่กล่าวมา ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที่เมื่อพบอาการ ดังนี้
- คลำเจอก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้ ทั้งที่กดเจ็บหรือไม่เจ็บ
- หัวนมตึงรั้งผิดปกติ และมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม
- สังเกตได้ว่าเต้านมมีขนาดและรูปร่างผิดปกติ
การวินิจฉัยและแนวทางการรักษามะเร็งเต้านม
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
ทำได้ 2 แนวทาง ได้แก่ การตรวจแมมโมแกรม และการตรวจอัลตร้าซาวด์ ทั้ง 2 วิธีมีขั้นตอนและข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนี้
- การตรวจแมมโมแกมีข้อดีก็คือสามารถตรวจหามะเร็งเต้านมที่มีขนาดเล็กได้ตั้งแต่ยังคลำก้อนไม่พบ และการตรวจแมมโมแกรมจะเห็นรายละเอียดได้มากในคนที่เริ่มสูงอายุหรืออายุมากกว่า 40 ปี ส่วนคนอายุน้อยจะแปลผลแมมโมแกรมยาก กรณีที่พบก้อน ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนนั้นเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ
- การตรวจ อัลตร้าซาวด์ มีข้อดีที่สามารถใช้ได้ทั้งคนทุกวัย อีกทั้งยังสามารถช่วยวินิจฉัยว่าก้อนต่าง ๆ ในเต้านมเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อทำให้สะดวกในการวินิจฉัยในการรักษา
แนวทางการรักษามะเร็งเต้านม
ทำได้ 3 วิธี ได้แก่
- การผ่าตัด ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรักษามะเร็งเต้านม โดยต้องมีการวางแผนอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน
- การฉายแสง ใช้รักษาในกรณีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง
- การใช้ยาเคมีบำบัดและยาต้านฮอร์โมน
มะเร็งเต้านม เป็นภัยเงียบสำหรับผู้หญิงทุกคน และพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ไม่มีบุตร มีบุตรช้า และมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ผู้หญิงหลายคนมีความเข้าใจผิดคิดว่าก้อนที่ไม่เจ็บคงไม่เป็นไรและปล่อยทิ้งไว้จนกระทั้งก้อนมะเร็งมีความผิดปกติหรือรู้สึกเจ็บ การตรวจร่างกาย การดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ถือว่าเป็นการเตรียมรับมือกับมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -