รู้จักโรคมะเร็ง สาเหตุและอาการของโรคมะเร็งที่ควรรู้ไว้

มะเร็ง

สาเหตุของการตายจากการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นก็มาได้จากหลายโรค อาจจะทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ และโรคอื่น ๆ แต่สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยตลอดระยะเวลา 20 ปีนั้นก็ยังคงเป็น โรคมะเร็ง โดยอ้างอิงจากข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 221 คน หรือ 80,665 คนต่อปี และมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 336 หรือ 122,757 คนต่อปี โดยโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายอันดับหนึ่งคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี อันดับสองคือ มะเร็งปอด และอันดับสามคือ ลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ส่วนมะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิง อันดับหนึ่งคือ มะเร็งเต้านม อันดับสองคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี ส่วนอันดับสามคือ มะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิคมะเร็ง

การเกิดมะเร็งนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งแต่ละปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จะนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะที่แตกต่างกัน เช่น

  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม ได้แก่ มะเร็งเต้านมและรังไข่ที่ถ้าหากมีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็น เราก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากกว่าคนอื่นที่ไม่มีประวัติครอบครัว หรือ ความผิดปกติของยีนกลุ่ม BRCA1 อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในขณะที่หากมีความผิดปกติของยีนกลุ่ม BRCA2 อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งท่อน้ำดี และมะเร็งผิวหนังเมลาโนม่า เป็นต้น
  2. โรคติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย Helicobacter pylori เป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้จนนำไปสู่ มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร, ไวรัส Human papilloma virus (HPV) ก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ ก่อนจะลุกลามไปเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งทวารหนัก, ไวรัส Hepatitis B virus (HBV) ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดบี จนนำไปสู่โรคมะเร็งตับ
  3. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น การโดนแสง UV เข้มข้นเป็นเวลานานนำไปสู่การจับคู่ที่ผิดพลาดของ DNA ที่เรียกว่า T-T dimers ส่งผลให้ DNA ขาดและนำไปสู่การกลายพันธุ์ของเซลล์ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงของมะเร็งผิวหนัง
  4. ปัจจัยจากไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีพ เช่นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ ยิ่งถ้าควบคู่กับการติดเชื้อไวรัส HBV จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า, การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งโพรงจมูกและช่องปากด้วย
  5. เกิดจากยีนที่ผิดปกติของร่างกายที่เรียกว่า oncogene ที่ในคนปกติยีนดังกล่าวอาจจะทำงานเหมือนยีนปกติ หรือไม่ได้ทำงาน แต่อยู่มาวันนึงเมื่อเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ จึงทำให้ยีนเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปจนพัฒนากลายเป็น cancer stemcell หรือเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็ง โดยเฉพาะยีนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและแก้ไขรหัสพันธุกรรมที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเซลล์ (proof reading gene)

แต่ทว่ามะเร็งเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมะเร็ง จนผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวเองก็เข้าสู่ระยะสุดท้ายที่เซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ไปแล้ว ดังนั้นจะดีกว่ามั้ยถ้าหากเราสามารถรับรู้ถึงสัญญาณต่าง ๆ ที่เป็นอาการของมะเร็ง โดยมีโอกาสได้สำรวจถึงปัจจัยเสี่ยง และมีโอกาสได้ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งได้

อาการที่เป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง

อาการเริ่มต้นที่สำคัญในการสังเกตสัญญาณของโรคมะเร็งได้แก่

  1. ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนแปร อาจจะมาจากความสามารถของลำไส้ใหญ่ที่ลดลง หรือระบบภายในอื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องมาจากมะเร็ง
  2. แผลที่ไม่รู้จักหาย เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะมะเร็งได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป
  3. ร่างกายมีก้อนตุ่ม เกิดจากเซลล์มะเร็งจับตัวกันเป็นก้อนและกำลังขยายตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ
  4. การกลืนกินอาหาร เกิดจากการขยายขนาดของก้อนเนื้อ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็ง
  5. ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล เกิดจากการที่เซลล์มะเร็งขยายขนาดจนทำให้ไปกระทบต่อเส้นเลือดบริเวณข้างเคียง
  6. ไฝ หูด ที่เปลี่ยนไป ถ้ามีการขยายพื้นที่หรือเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ อาจจะมาจากการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งอย่างรุนแรง
  7. น้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ เนื่องจากเซลล์มะเร็งต้องการสารอาหารอย่างมากในการเพิ่มจำนวน จึงทำให้เกิดการดึงเอาสารอาหารที่ควรจะเลี้ยงร่างกายไปใช้

หากมีอาการต่าง ๆ เกิน 3 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ และควรตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาโรคมะเร็งระยะเริ่มแรกเป็นประจำปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย และเลือกแพคเกจที่ครอบคลุมการตรวจความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเพิ่มเติมด้วย

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก