รู้ทัน อาการไมเกรน โรคใกล้ตัวของคนวัยทำงาน

ไมเกรน ปวดหัว
อาการปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่งหรืออาการปวดเป็นพัก ๆ ที่เรียกกันว่าอาการปวดไมเกรน เป็นปัญหาต่อสุขภาพที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยทำงาน การมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้ ช่วยให้รู้ทันอาการของโรคและสามารถรับมือด้วยการดูแลป้องกันตนเอง จากอาการปวดไมเกรนได้

ไมเกรน

ไมเกรน คือโรคทางสมองที่มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทำงานที่เผชิญกับสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องลักษณะของอาการไมเกรน คือมีอากาดรปวดหัวเป็นพัก ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งประมาณ 8-12 ชั่วโมง บางรายอาจปวดนานถึง 72 ชั่วโมง และอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว โดยจะพบผู้ป่วยอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25 – 30 ปี มากที่สุด มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

อาการปวดศีรษะไมเกรน

อาการปวดศีรษะในโรคไมเกรนมีลักษณะสำคัญ คือ มักมีอาการปวดข้างเดียว เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุยังน้อย และมีอาการนำมาก่อน เช่น ชาซีกใดซีกหนึ่ง หรือตามองไม่เห็นและตามด้วยอาการเหล่านี้
  1. ปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่งเป็นพักๆ ปวดแบบตุบๆ
  2. บางครั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัวร่วมด้วย 
  3. ปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ หรือมีอาการปวดมากจนน้ำตาไหล
  4. เมื่อเคลื่อนศีรษะจะทำให้มีอาการปวดมากยิ่งขึ้น
  5. มีอาการปวดบริเวณหน้าฝากหรือรอบดวงตา

ความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน

ความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน หรือระยะความรุนแรงของโรคสามารถจำแนกได้ด้วยระดับความปวดศรีษะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะ คือเริ่มมีอาการปวดศีรษะประมาณ 1-2 วัน อาจมีอาการตัวบวม ปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย
  2. ระยะอาการเตือน คือการเตือนก่อนเกิดอาการปวดศีรษะ ประมาณ 5-60 นาที แต่จะไม่เกิดกับผู้ป่วยทุกคน เช่น มองเห็นแสงกระพริบ ๆ แสงซิกแซก มองเห็นเป็นเส้นคลื่น รู้สึกชาที่มือหรือเท้า การพูดลำบาก พูดไม่ชัด
  3. ระยะปวดศีรษะ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีอาการปวดแบบตุบ ๆ ตามจังหวะหัวใจเต้น อาจมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการปวดศีรษะอาจยาวนาน 4-72 ชั่วโมง
  4. ระยะหลังจากปวดศีรษะหรือระยะพัก คืออาการปวดศีรษะและอาการอื่น ๆ จะค่อย ๆ ลดลง ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกเหนื่อยล้า ซึ่งอาจกินระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากหายปวดศีรษะ
ปวดหัว

ภาพโดย Anastasia Gepp จาก Pixabay

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไมเกรน

ไมเกรน อาการของโรคเกิดได้จากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น อยู่ในที่ ๆ มีแดดจัดแสงจ้า  ในที่มีอากาศเย็นหรือร้อนเกินไป  หรืออากาศมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคไมเกรน และยังมีสาเหตุอื่นที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดอาการปวด ได้แก่
  1. การกระตุ้นทางระบบประสารทสัมผัส เช่น ประสาทสัมผัสทางตา มีการจ้องมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ เช่น ดูทีวี เล่นเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์ ประสาทสัมผัสทางการได้ยินหรือทางหู เมื่อได้ยินเสียงดัง  เช่นใส่หูฟัง ฟังเสียงดัง ๆ ประสาทสัมผัสทางกลิ่นหรือทางจมูก เมื่อได้กลิ่นต่าง ๆ เช่น บุหรี่ น้ำหอมฉุน ๆ ประสาทสัมผัสทางรสหรือทางปาก เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ หรือหรือดื่มคาเฟอีนมากไป ด้านความรู้สึก หรือทางจิตใจ เช่น เมื่อมีอาการเครียด คิดมาก เศร้า ซึม ประสาทสัมผัสทางสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่นควัน แดด อากาศ
  2. การเปลี่ยนของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไมเกรน เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางสมองและหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน  เช่น เริ่มมีประจำเดือน 
  3. ทางพันธุกรรม ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น มีคนคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไมเกรนมาก่อน

การวินิจฉัยอาการปวดหัวไมเกรน 

อาการปวดหัวไมเกรน เกิดขึ้นได้กับทุกคนและอาจแยกอาการปวดไม่ออกระหว่างไมเกรนและอาการปวดที่มีผลข้างเคียงมาจากโรคอื่น ๆ โดยทั่วไปอาการปวดไมเกรนผู้ป่วยมักมีประวัติจำเพาะและตรวจร่างกายพบว่ามีความปกติดีของระบบประสาท ในการตรวจวินิจฉัยเพื่อแยกแยะอาการปวดหัวทั้งสองออกจากกัน แพทย์จะทำการซักประวัติคนไข้และตรวจร่างกายอย่างละเอียดว่าระบบประสาทมีความผิดปกติหรือไม่

วิธีป้องกันรักษาโรคไมเกรน

ไมเกรนเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นเพียงบรรเทาอาการปวดหรือทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดลดน้อยลง โดยแบ่งวิธีป้องกันรักษาได้เป็น 3 ข้อ ดังนี้
  1. การควบคุมปัจจัยชักนำ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ เนย นม กล้วยหอม ผมชูรส และหลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟ พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมความเครียด 
  2. การรักษาด้วยตัวยา ได้แก้ พาราเซตามอล กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ยาต้านไมเกรน โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยแนะนำการใช้ยา และเมื่อสามารถควบคุมอาการได้แล้ว แพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆลดยาลง
  3. การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การทำสมาธิ การฝังเข็ม และการออกกำลังกาย
ไมเกรน เป็นโรคที่ยังไม่พบแนวทางการรักษาที่ชัดเจน และยังเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มีสิ่งเร้ามากมายทำให้อาการปวดไมเกรนถูกกระตุ้น เพียงเรา รู้ทัน อาการไมเกรน และรู้จักวิธีป้องและดูแลตนเองอย่างถูกต้อง อาการปวดศีรษะไมเกรนก็ไม่ใช่ปัญหาและอุปสรรคสำหรับการดำเนินชีวิต
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก