อาการข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุและคนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก ๆ และโรคข้อเข่าเสื่อม นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยรวมทั้งสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยจากอาการเจ็บปวดแล้ว ยังส่งผลให้ข้อเข่ามีลักษณะผิดรูป หรือข้อเข่าฝืดติดขัดทำให้ไม่สามารถเดินได้ตามปกติอีกด้วย อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมีวิธีรักษาอย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หาคำตอบได้จากบทความต่อไปนี้ครับ
โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร ?
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นอาการของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่างโครงสร้างและการทำงานของกระดูกข้อต่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และเมื่อลักษณะของข้อเข่ามีการผิดรูปหรือมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ และที่สำคัญอาจมีความเสื่อมที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นตามลำดับปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
- ปัจจัยแรกของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ อายุ โดยมักพบในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป สาเหตุใหญ่เกิดจากข้อต่าง ๆผ่านการใช้งานมานาน ส่งผลให้กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพและมีความแข็งแรงน้อยลง
- เพศ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของโรคนี้ โดยพบว่าเพศหญิง มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงน้อยกว่าผู้ชาย
- คนอ้วน เนื่องจากคนที่มีน้ำหนักตัวมากทำให้ข้อเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวมากตามไปด้วย และการรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้ข้อเข่าก็เสื่อมสภาพเร็วมากกว่าคนปกติทั่วไป
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การใช้งานข้อเข่าบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือการนั่งพับเพียบ รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารหากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีภาวะกระดูกเสื่อมที่จะส่งผลทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม อาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ พบได้มากในผู้ป่วยที่มีอายุเกิด 50 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก ลักษณะอาการที่พบ ได้แก่- อาการในระยะแรก ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ
- อาการเมื่อมีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่รุนแรง จะมีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ
- เหยียดหรืองอข้อเข่าไม่สุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่งหรือบิดเบี้ยวผิดรูป
- มีอาการปวดเข่าเวลาเดินหรือขยับ ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบาก
วิธีและแนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
ปัจจุบันการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้เป็นเพียงการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด และสามารถควบคุมอาการทำให้หน้าที่การทำงานของข้อเข่ากลับคืนสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับภาวะปกติให้ได้มากที่สุด สำหรับแนวทางการรักษามีหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยวิธผ่าตัด เป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่น การใช้ยาแก้ปวด ใช้สำหรับลดอาการเจ็บปวดแต่ไม่ได้ลดอาการอักเสบเมื่อหมดฤทธิ์ยาก็จะกลับมาปวดอีกแนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด
ทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด นอกจากการใช้ยาแก้ปวดแล้ว ยังมีวิธีหรือแนวทางการรักษาที่ไม่ต้องกินยาตลอดชีวิต ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้- การรักษาด้วยการใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม โดยน้ำหล่อเลี้ยงเทียมนี้จะใช้ได้นาน 6 เดือน
- รักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การพักหรือใช้งานข้อเข่าให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือไม่ควรยืนหรือนั่งท่าเดียวเป็นเวลานาน
- ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนักด้วยวิธีที่ถูกต้อง
- การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินเพื่อช่วยลดแรงที่เกิดกับข้อ
- การประคบอุ่นบริเวณข้อเข่า เพื่อลดอาการปวดและลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งได้
วิธีดูแลและป้องกันตนเองจากโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม แม้ส่วนหนึ่งจะมีสาเหตุมาจากการมีอายุที่มากขึ้น แต่การป้องกันตนเองจากโรคข้อเข่าเสื่อม ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะปัจจัยสำคัญของอาการข้อเข่าเสื่อมเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เมื่อรู้ถึงสาเหตุหรือปัจจัยของโรค ก็สามารถป้องกันตนเองได้ ดังนี้- ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้งานในการรับน้ำหนักของข้อเข่า เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น นั่งท่าคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือนั่งพับเพียบเป็นเวลานาน ๆ
- กรณีมีน้ำหนักตัวมาก ๆ หรือเป็นโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักตัวลงก่อนที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
- การออกกำลังกายโดยการยืนแกว่งแขนหลังอาหารมื้อเย็นวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อลดการใช้งานข้อเข่าในขณะออกกำลังกาย
-
฿990.00
฿1,780.00callo complex 1 กล่อง แถม คอลลาเจน 3 ซอง
฿990.00฿1,780.00