อาการปวดหลังสัญญาณเตือน “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่ตลอดทั้งวัน คนที่ต้องทำงานหนักรวมไปถึงผู้สูงอายุ ก็คือ อาการปวดหลัง ที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูกทับเส้นหรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการของโรคนี้ร้ายแรงหรือไม่ มีวิธีการรักษาอย่างไร และรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท aufarm.shop มีคำตอบครับ

อาการปวดหลัง เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ในร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยกระดูก 206 ชิ้น และแต่ละชิ้นก็จะทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบภายใต้การสั่งงานของระบบประสาท เมื่อร่างกายเราอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เวลาขยับร่างกายมักจะราบรื่นไม่มีการติดขัด ไม่มีการเจ็บหรือปวดแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังไม่ว่าจะอยู่ในท่าทางหรือกิจกรรมใด ๆ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปอาการปวดหลังมีสองรูปแบบ ได้แก่อาการปวดหลังเฉียบพลันที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และปวดเป็นเวลานานแบบเรื้อรังไม่น้อยกว่าหกสัปดาห์ 

สาเหตุของอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังไม่ว่าจะปวดแบบเฉียบพลันหรือมีอาการปวดแบบเรื้อรังจากกระดูกทับเส้นหรือภาวะอื่น ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น อาการปวดหลังแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ดังนี้

1. สาเหตุจากภายในร่างกาย

อาการปวดหลังที่เกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย ได้แก่ 

– ความพิการแต่กำเนิดเช่นหลังค่อมหรือกระดูกสันหลังคด 

– ความพิการของขา เช่น ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน โรคโปลิโอ 

– โรคประจำตัวเช่นกรดในกระเพาะหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบเกิดก๊าซภายในช่องท้องที่ไปดันกล้ามเนื้อส่วนหลังจนมีอาการปวดได้ 

– โรคไส้ติ่งอักเสบ 

– โรคมะเร็งบางชนิด 

2. สาเหตุจากภายนอกร่างกาย

อาการปวดหลังในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ 

– อุบัติเหตุ เช่นรถชน ตกจากที่สูง 

– การนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน 

– การเดินหรือการวิ่งด้วยการลงน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน

การยกของผิดท่าหรือการยกของหนัก 

อาการปวดหลัง สัญญาณบ่งบอกว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการปวดหลังที่เป็นอันตรายคือมีอาการปวดเรื้อรังที่เป็นมากกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคกระดูกทับเส้น หรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แนวทางการวินิจฉัยอาการทำได้2 วิธี คือตรวจวินิจฉัยอาการกระดูกทับเส้นด้วยตนเอง และการวินิจฉัยโดยแพทย์ ดังนี้

พบแพทย์ ซักประวัติ

 

แนวทางการวินิจฉัยอาการปวดหลังด้วยตัวเอง

  • สังเกตอาการปวดตึงหรือปวดตุ๊บ ๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง อาจมีอาการปวดตรงบริเวณกลางหลังหรือปวดบริเวณเอวช่วงล่าง อาจปวดจากการยกของผิดท่าหรือผิดวิธี
  • ลักษณะอาการปวดที่อาจเป็นอันตราย เช่น กดตามแนวมัดกล้ามเนื้อจะรู้สึกเจ็บลึก ๆ บริเวณที่ถูกกด  มีอาการปวดเอวหรือปวดหลังส่วนล่าง  อาการปวดสะโพกหรือที่เราเรียกกระเบนเหน็บ ในบางคนอาจจะปวดร้าวลงไปที่ต้นขาร่วมด้วย หรือมีอาการปวดเป็นเวลานาน อาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้อขาอาจอ่อนแรง

การวินิจฉัยโรคโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หากวินิจฉัยด้วยตัวเองแล้ว พบว่าอาการปวดหลังเป็นแบบเรื้อรังหรือลักษณะอาการปวดอาจเป็นอันตรายร้ายแรง เมื่อมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย ตามขั้นตอน ดังนี้

  • แพทย์จะทำการซักประวัติสอบถามอาการปวดหลังดของผู้ป่วย 
  •  สอบถามถึงระยะเวลาที่ปวด ความรุนแรงหรืออาการดำเนินของโรค 
  • เช็คประวัติและตรวจร่างกายสอบถามถึงสาเหตุการเกิดโรคเช่นอุบัติเหตุ โดยเฉพาะผู้ป่วยในรายที่มีอาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน

เมื่อทราบสาเหตุของอาการปวดหลังแล้ว แพทย์อาจส่งตรวจเฉพาะเพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น การส่งตรวจห้องปฏิบัติการตามอาการหนักเบาของอาการจากการวินิจฉัยของแพทย์ รวมถึงการส่งเอ็กซ์เรย์และ MRI การตรวจโดยละเอียดจะทำให้แพทย์หาสาเหตุและตำแหน่งที่เป็นปัญหาเพื่อช่วยในการรักษาให้ตรงจุดและวางแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม

การรักษาและขั้นตอนการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เมื่อแพทย์วินิจฉัยพบว่าเป็นอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้นแพทย์จะวางแนวทางในการรักษาอาการ ดังนี้ 

กรณีอาการไม่รุนแรง 

–  จ่ายยาแก้ปวด แก้อักเสบเพื่อช่วยในการลดบวมของเส้นประสาทที่ถูกหมอนรองกระดูกกดทับ 

– การส่งผู้ป่วยไปทำกายภาพบำบัด

– การประคบร้อนเย็นตามอาการ 

– บางรายอาจให้นอนพักเพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด 

กรณีอาการปวดหลังมีความรุนแรง

หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นและมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น แพทย์อาจเปลี่ยนแนวทางการรักษาใหม่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่ การผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ทันสมัยและสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ขึ้นโดยใช้เวลาในการรักษาและฟื้นฟูไม่นาน 

วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. เลือกออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำจะช่วยชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกบริเวณสันหลัง ทำให้สามารถป้องกันอาการกระดูกทับเส้นได้เป็นอย่างดี
  2. การจัดระเบียบท่าทางร่างกายให้เหมาะ เช่น การนั่ง การขึ้นลงรถยนต์ การยกของ
  3. การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดแรงกดทับกระดูกสันหลัง ช่วยให้ห่างไกลอาการปวดหลังจากโรคกระดูกทับเส้น

อาการปวดหลัง ทั้งลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรืออาการปวดเรื้อรังที่อาจเป็นสัญญาณของโรคกระดูกทับเส้น ล้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งสิ้น และนอกจากนั้นอาการปวดหลังส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเมื่อทราบปัจจัยเสียงเพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองก็สามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากอาการปวดหลังและปลอดภัยจากอาการกระดูกทับเส้นได้แล้ว  

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก