ปัจจัยเสี่ยง การรักษา ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานในขณะตั้งครรภ์ เป็นความผิดปกติของการเผาผลาญคาโบไฮเดรตและการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในขณะที่ตั้งครรภ์ และยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ทำให้เสี่ยงหรือมีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกได้

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติโดยทั่วไปมักพบภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงเวลาครึ่งหลังของการตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 

  1. ขณะตั้งครรภ์คุณแม่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรืออายุน้อยกว่า 16 ปี
  2. คุณแม่ตั้งครรภ์ มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองอยู่ก่อนแล้ว
  3. มีประวัติคนในครอบครัวของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นเบาหวาน เช่น พ่อหรือแม่ เป็นเบาหวาน
  4. คุณแม่มีน้ำหนักมากหรืออ้วนมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
  5. คุณแม่ตั้งครรภ์มีคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  6. คุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มาก่อน

ลูกน้อย

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับผลกระทบต่อมารดาและทารกในครรภ์

  1. ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่สูงมากของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจกระตุ้นให้ตับอ่อนของทารกผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ทารกมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการคลอด
  2. เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด อาจคลอดในช่วงอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์
  3. เด็กอาจตัวเหลือง เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำอาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะตัวเหลืองหลังคลอด ซึ่งทำให้ต้องรับการรักษาต่อในโรงพยาบาล
  4. คุณแม่อาจเสี่ยงต่อภาวะน้ำคร่ำมาก เพราะปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และอาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ขึ้นในระหว่างคลอดได้
  5. เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์
  6. คุณแม่มีโอกาสเป็นเบาหวานอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์ลูกคนต่อไป และอาจป่วยด้วยโรคเบาหวานเรื้อรั้งหลังคลอดได้

อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะไม่มีอาการใด ๆ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ซึ่งจะคล้ายกับอาการของผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง  เช่น รู้สึกหิวกระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย และนอนหลับระหว่างวัน

การวินิจฉัยทางการแพทย์

  1. ตรวจคัดกรอง แพทย์จะสอบถามประวัติคุณแม่ตั้งครรภ์ และบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และวัดค่าดัชนีมวลกายว่ามากกว่า 30
  2. การตรวจร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ เช่น รูปร่างหรือน้ำหนักตัวหากอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โอกาสเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก็มีมากด้วย หรือตรวจความผิดปกติของครรภ์ เช่น ครรภ์ใหญ่กว่าปกติ
  3. ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจเพื่อหาน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยวิธี OGTT

ฉีดอินซูลิน

การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ยังไม่มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจนเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยที่เหมาะสม รวมทั้งยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในระหว่างตั้งครรภ์ที่ส่งผลต่อมารดาและทารก คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด โดยมีแนวทางในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ดังนี้ 

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จุดมุ่งหมายหลักของการดูแลรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในปัจจุบันคือพยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของของคุณแม่ตั้งครรภ์ให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
  2. การควบคุมอาหาร แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยการบริโภคผัก ผลไม้ และธัญพืช เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  3. การออกกำลังกาย เป็นองค์ประกอบสำคัญในการควบคุมโรคเบาหวาน โดยเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เช่น  การออกกำลังกายที่แขนทั้งสองข้าง
  4. ฉีดอินซูลิน หากระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูงอยู่หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายมาระยะหนึ่งแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาฉีดอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
  5. การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์  โดยการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์มากเป็นพิเศษด้วยการอัลตราซาวด์ และอาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ว่ามีการเจริญเติบโตตามปกติหรือไม่

การปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  1. เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์และพบว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หลังการฝากครรภ์แพทย์จะให้คำแนะนำวิธีดูแลตนเอง คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด
  2. ควบคุมอาหารให้ถูกสัดส่วนและรับประทานอาหารให้ถูกเวลา เช่น
  • ลดอาหารจำพวก แป้งหรือน้ำตาล และเลือกทานข้าวซ้อมมือแทนข้าวขาว
  • เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ
  • รับประทานผักผลไม้หลากหลายชนิด เน้นที่มีกากใยสูง
  • เลือกดื่มนมสดชนิดจืด และพร่องมันเนย
  • หลีกเลี่ยงของหวาน และผลไม้ที่มีรสหวานจัด
  • งดอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด หรือเผ็ดจัด
  • หลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยว อาหารประเภททอดหรืออาหารผัดที่ใช้น้ำมันมาก ๆ

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นปัญญาสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่อาจส่งผลกระทบทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่าง ๆ

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก