โรคกระเพาะ เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในกลุ่มคนวัยทำงาน และกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เป็นเวลา รวมทั้งคนที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเรื้อรังทำให้ต้องทานยาที่อาจกัดกระเพาะได้หากทานยาไม่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ การรู้ทันโรคช่วยให้เราดูแลตนเองทำให้ห่างไกลโรคกระเพาะได้ไม่ยาก เพื่อรู้ทันโรคและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธี aufarm.shop มีความรู้เกี่ยวกับโรคกระเพราะมาแนะนำค่ะ
โรคกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร ?
โรคกระเพาะอาหาร หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักของโรคเพาะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้- โรคกระเพาะอาหาร ที่เกิดจากการเสียสมดุลของกรดที่หลั่งออกมาไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากผิดปกตินี้ อาจเกิดจากความเครียด ความกังวล อารมณ์แปรปรวน การรับประทานอาหารรสจัด การดื่มแอลกอฮอลล์ ชา กาแฟ และสูบบุหรี่เป็นประจำ
- มีสาเหตุจากเยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย เกิดได้จาก การทานยาแก้ปวด ยาลดไข้ หรือยารักษาโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ที่อาจส่งผลระคายกระเพาะอาหาร หรือเกิดจากการกินอาหารไม่เป็นเวลา
- ติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ H.pylori (Helicobactor Pylori) เชื้อนี้เกิดจากการรับประทานอาหาร และเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
อาการและสัญญาณบ่งบอกของโรคกระเพาะอาหาร
สัญญาณบ่งบอกของโรคกระเพาะอาหาร จะมีอาการปวดท้อง เป็น ๆ หาย ๆ และ จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรืออาการต่าง ๆ ต่อไปนี้- มีอาการแสบท้อง ร่วมกับอาการปวดท้องแบบเป็นๆ หาย ๆอาจมีอาการปวดท้องมาก เมื่อรับประทานอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือดื่มน้ำอัดลม
- มีอาการปวดแน่น ท้องอืด มีลมในท้องมาก หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังมื้ออาหารทำให้อิ่มง่ายกว่าปกติ
- มีอาการเบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
- มีอาการปวดท้องเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานานหรือนานเป็นปี
อาการแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหารส่วนใหญ่มักจะไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่ถ้าเป็นแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจนมีอาการมากและเรื้อรังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เช่น- เลือดออกทางเดินอาหาร อาการที่สังเกตได้ อาจมีถ่ายอุจจาระสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด
- กระเพาะทะลุ หรือลำไส้เป็นแผล สังเกตได้จากมีอาการปวดท้องรุนแรงทันทีทันใด หน้าท้องแข็ง กดเจ็บ
- ลำไส้อุดตัน หรือลำไส้ตีบตัน สังเกตได้จากอาการปวดท้อง การรับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็วและมักอาเจียนเป็นอาหารที่ไม่ย่อยหลังรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
การวินิจฉัยโรคกระเพาะของแพทย์
การวินิจฉัยโรค แพทย์จะสอบถามประวัติอาการเบื้องต้น และการตรวจร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุที่แน่ชัด รวมไปถึงการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น- ตรวจด้วยวิธีกลืนแป้งแบเรียม แล้ว x-ray เป็นวิธีที่ทำง่ายตรวจเสร็จแล้วกลับบ้านได้เลย
- ตรวจด้วยการส่องกล้อง เป็นวิธีการตรวจที่สำคัญในการรักษา สามารถมองเห็นด้วยตา ถ่ายรูปเก็บภาพไว้วินิจฉัยโรคได้ และนำเนื้อเยื่อไปตรวจ
- การตรวจเลือด การตรวจอุจจาระ หรือการตรวจด้วยวิธีการพ่นลมหายใจ
วิธีการและขั้นตอนการรักษาโรคกระเพาะอาหาร
- การรักษาด้วยยา โดยจะรักษาตามอาหารหรือตามสาเหตุของโรค เช่น โรคกระเพาะอาหารที่มีการติดเชื้อแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะที่เกิดจากการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารมากผิดปกต แพทย์จะให้ยาลดอาการของโรคกระเพาะ
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ การผ่าตัดกรณีที่มีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น – หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด เปรี้ยว รสจัด – งดเครื่องดื่มแอลกฮอล์ บุหรี่ น้ำอัดลม – หลีกเลี่ยงการทานอาหารหมักดอง เช่น ผลไม้ดอง ผักดอง – เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักมากขึ้น
วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยาชุด ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาที่มีสเตียรอยด์ น้ำอัดลม อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหาร หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- ไม่รับประทานจนอิ่มเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะขยายตัวกระตุ้นให้เจ็บ และปวดท้องมากขึ้น
- ลดปริมาณอาหารมื้อหลักและเสริมในมื้ออาหารว่าง เพื่อไม่กระตุ้นให้เกิดการปวดท้อง
- รักษาความสะอาดและสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร
- เลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
- หลีกเลี่ยงการซื้อยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารหรือยาในกลุ่มลดอาการปวด มาทานเอง หากจำเป็นต้องทานยาเหล่านี้ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
- หากมีอาการควรไปพบแพทย์ หรือตรวจเช็คร่างกายประจำปี เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ