ตับถือเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาอวัยวะภายใน และยังมีหน้าที่สำคัญหลายประการ โดยการทำงานของตับจะต้องอาศัยการทำงานของเซลล์ตับซึ่งหน้าที่หลักก็คือการผลิตน้ำดี เพื่อแปรสภาพสารพิษและยาที่อยู่ในร่างกายให้สามารถขับถ่ายออกไป หรือเรียกกระบวนการนี้ว่าเมแทบอลิซึมของยา และนอกจากหน้าที่หลักนี้แล้ว ตับยังทำหน้าที่ควบคุมกระบวนสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ของคนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ดังนั้นเมื่อตับเกิดปัญหากหรือมีไขมันพอกตับ ระบบการทำงานของร่างกายก็จะผิดปกติและมีปัญหาสุขภาพตามมาด้วย
ไขมันพอกตับ คืออะไร ?
โดยปกติไขมันในร่างกายของคนเราจะเป็นแหล่งพลังงาน มีข้อดีก็คือเมื่ออดอาหารร่างกายก็จะนำพลังงานในส่วนนี้ออกมาใช้ทดแทน ซึ่งแหล่งเก็บพลังงานที่สำคัญในร่างกายแบ่งออกเป็น 2 จุดใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณพุงหรือหน้าท้อง และอีกจุดถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดได้แก่ตับ เมื่อเกิดความผิดปกติของกลไกในการใช้พลังงานภายในร่างกายลดน้อยลง หรือร่างกายสร้างไขมันมากขึ้นจากการทานอาหาร ก็จะส่งผลให้มีไขมันไปสะสมในตับสูงขึ้นและกลายเป็นไขมันส่วนเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ
การที่จะมีไขมันไปพอกตับ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีความผิดปกติในระบบเผาผลาญ เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง จนทำให้ไขมันไปสะสมอยู่ที่ตับเกินกว่า 5-10 % ของน้ำหนัก ซึ่งถือว่าเข้าสู่การเป็นโรคไขมันพอกตับ โดยสาเหตุหลัก ๆ ของโรคนี้ ได้แก่
- เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยเป็นหลัก เช่น เลือกทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ ทำให้ร่างกายนำพลังงานไปใช้ไม่หมด นอกจากเป็นสาเหตุทำให้ไขมันพอกตับแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลสูง
- เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้ตับต้องทำงานหนัก
- เกิดจากผู้ที่มีภาวะเป็นโรคประจำตัวอื่น ๆ อยุ่ก่อนแล้ว เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับตามมาได้
- เกิดจากการทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป
- เป็นผลข้างเคียงมาจากการทานยาบางชนิด เช่น ยาต้านไวรัส ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง หรือยาพาราเซตามอลในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง
ลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคไขมันพอกตับ
ภาวะไขมันพอกตับ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มแรกจะไม่รู้สึกมีความผิดปกติ เพราะอาการและความรุนแรงของโรคจะแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ที่เป็นมักไม่รู้ตัวเพราะไม่มีอาการแสดงออก ความรุนแรงของโรค หากตรวจพบในช่วงที่ยังไม่มีอาการเมื่อได้รับการรักษา โรคไขมันเกาะตับหรือไขมันพอกตับมักกลับมาเป็นปกติได้ แต่ถ้าตรวจพบเมื่อมีอาการที่รุนแรงแล้วการรักษาให้กลับมาเป็นปกติทำได้ยาก ลักษณะอาการของโรคไขมันพอกตับโดยทั่วไปมี ดังนี้
- ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง โดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกแน่น อึดอัด และไม่สบายท้อง
- น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง หรือมีอาการคลื่นไส้บ่อย ๆ
- มึนงง ความสามารถในการตัดสินใจและสมาธิลดลง
- มีอาการเจ็บแน่น ใต้ชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของตับ อาการเจ็บเนื่องจากการมีตับโตขึ้น
การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ
เมื่อมีอาการรุนแรงหรือตรวจพบความผิดปกติและมีแนวโน้มว่าเป็นอาการของโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะทำกาวินิจฉัยโรคตามขั้นตอน ดังนี้
- การตรวจเลือดดูภาวะตับอักเสบ
- การตรวจอัลตราซาวนด์
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจทางพยาธิวิทยา
- การตรวจวัดปริมาณไขมันและผังผืดในตับด้วยเครื่อง FibroScan
แนวทางการรักษาโรคไขมันเกาะตับ
การรักษาโรคไขมันพอกตับ ปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดที่รักษาโรคไขมันพอกตับได้โดยตรง เมื่อตรวจพบหรือวินิจฉัยว่าเป็นโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะทำการรักษาตามทาง ดังนี้
- แนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง งดดื่มแอลกอฮอล์ และหันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายนำพลังงานที่เก็บสะสมไว้มาใช้ ส่งผลให้ลดการสะสมไขมันส่วนเกินในตับ
- ใช้ยาและสารที่ใช้บรรเทาอาการของภาวะไขมันพอกตับ เช่น
- ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลินช่วยลดระดับเอนไซม์ตับในเลือดลงได้ ทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้น
- ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน
- วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย แต่ไไม่ควรรับประทานวิตามินอีเกินวันละ 400 IU
วิธีป้องโรคไขมันพอกตับ
1.ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
2.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสหวานต่อเนื่อง
3.ลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่เกิดโรคอ้วน
4.รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ให้พลังงานต่ำ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- กรณีเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
ไขมันพอกตับ เป็นภัยเงียบที่อันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากอาการในระยะเริ่มแรกจะไม่แสดงความผิดปกติ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกปิดปกติใด ๆทำให้ตรวจพบโรคในระยะที่มีความรุนแรงและยากต่อการรักษา การป้องกันตนเองโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโดภคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ จึงช่วยให้ห่างไกลและปลอดภัยจากไขมันพอกตับได้ดีที่สุด
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -