โรคเบาหวาน รู้ทันป้องกันและควบคุมได้

เบาหวาน

เบาหวาน เป็นโรคที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี มักมีอาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มักไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน หากปล่อยนาน นอกจากมีอาการแทรกซ้อนได้แล้วยังยากต่อการรักษา หากมีการตรวจคัดกรองหรือรู้ทันโรครู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ก็จะสามารถควบคุมได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้ทุกคนรู้ทันโรคเบาหวาน aufarm.shop มีความรู้ดี ๆ มาแนะนำ

โรคเบาหวาน คืออะไร ?

เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากฮอร์โมนอินซูลินทำงานผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินซูลิน หรืออวัยวะต่างๆตอบสนองต่ออินซูลินลดลง จนทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดออกมาใช้เลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือนำมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ จนต้องไปสลายไขมันตามผิวหนังออกมาใช้แทน น้ำตาลจึงเหลือปนอยู่ในเลือดสูง หากถึงระดับที่ไตไม่สามารถกรอง และดูดกลับจากหน่วยไตได้หมด ก็จะทำให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ก็ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามมา 

อาการหรือสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน

  1. น้ำหนักตัวลด เหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย
  2. หิวบ่อยรวมทั้งกระหายน้ำบ่อย ๆ แบบผิดปกติ 
  3. ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  4. ตาพร่ามัวอย่างผิดปกติ
  5. ตามปลายมือและปลายเท้ามักมีอาการชา รวมทั้งปวดตามแขน ขา
  6. คันตามผิวหนัง ผิวหนังแห้งและมักเป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
  7. เมื่อเป็นแผลง่ายแต่จะรักษาให้หาย ทำได้ยาก ใช้เวลานาน
  8. ความรู้สึกทางเพศลดลง
เบาหวานขณะตั้งครรภ์

ภาพโดย stanias จาก Pixabay

สาเหตุและประเภทของเบาหวาน 

เบาหวานไม่ได้มีสาเหตุเพียงแค่การทานอาหารที่มีรสหวานจนเกินไปเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดได้กับผู้ที่มีพฤติกรรมการเสี่ยง อย่างอื่น ๆ ได้อีกเช่น มีน้ำหนักมากเกินไป อ้วน มีไขมันในเลือดสูง รวมทั้งเกิดจากสาเหตุที่เป็นหลักดังนี้

  1. เบาหวานที่เกิดจากตับถูกทำลาย ทำให้ขาดอินซูลิน 
  2. เบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อยา มักเกิดกับคนอ้วน พบมากที่สุด 
  3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ 
  4. เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุจำเพาะ เช่น กรรมพันธุ์ ยาบางชนิด

การวินิจฉัยโรค จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน

เมื่อมีอาการซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเบาหวานควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีผลของการตรวจดังนี้ 

  1. ตรวจหาน้ำตาล จะพบว่ามีค่าน้ำตาลเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  2. ทดสอบความทนต่อน้ำตาล ด้วยการให้อดอาหาร จากนั้นจะตรวจเลือดครั้งที่ 1 หลังจากนั้นจะให้ดื่มกลูโคสและเจาะเลือดตรวจซ้ำ ผลจะมีค่าน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  1. ตรวจเลือดร่วมกับการวิเคราะห์อาการที่ผิดปกติเช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด 
  2. ตรวจเลือดโดยไม่ต้องอดอาหารร่วมกับการพิจารณาปัจจัยอื่นๆของผู้ป่วยเช่น เป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ อายุ ซึ่งผลตรวจเลือดมีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%
น้ำตาล

ภาพโดย Myriam Zilles จาก Pixabay

การรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เรื้อรัง รักษาไม่หายขาดแต่สามารถควบคุมให้น้ำตาลอยู่ในระดับปกติได้ ผู้ป่วยต้องอาศัยความตะหนักของการรักษาและให้ความร่วมมือกับแพทย์ ดังนี้

  1. ควบคุมอาหาร เป็นวิธีที่สำคัญ ผู้ป่วยทุกรายควรเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและเคร่งครัด เช่น ไม่ทานเนื้อสัตว์ติดมัน ทานผลไม้ชนิดหวานน้อย ไม่ควรทาน อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก ๆ ฯลฯ
  2. ออกกำลังกายชนิดต้านน้ำหนักเป็นประจำอย่างน้อย 45 นาที 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ 
  4. ใช้ยาลดน้ำตาล ซึ่งต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ ห้ามซื้อยามาทานเอง
  5. มาพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เมื่อเลือดมีน้ำตาลเข้ามาอยู่เป็นจำนวนสูงมากก็จะส่งผลให้ เส้นเลือดทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เกิดการอักเสบและอุดตันได้ง่าย เมื่อน้ำตาลไปเกาะกับเม็ดเลือดขาวก็จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อโรคอื่นๆลดลง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคดังนี้คือ

  1. เบาหวานขึ้นตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม เสี่ยงกับการเป็นโรคต้อกระจก ต้อหิน หากไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้จอประสาทตาลอกและตาบอด
  2. เบาหวานลงไต เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้เกิดแรงดันเลือดที่ไตสูงตามมาด้วย ทำให้ไตทำงานลดลง หากไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้เกิดไตวายเรื้อรังจนต้องรักษาด้วยการล้างไต
  3. เส้นเลือดอุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณขา มักมีอาการปวดขา ปลายเท้าเย็น ขาเงามัน ขนขาร่วง เมื่อปลายเท้าขาดเลือดนานวันก็จะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ในที่สุดก็อาจจะต้องตัดนิ้วหรือตัดขาทิ้ง
  4. ชาปลายมือปลายเท้า เจ็บเหมือนโดนเข็มทิ่มหรือแสบร้อน บางรายพบอาการทางประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติ เช่น เหงื่อไม่ออกหรือออกง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ท้องอืด จุกแน่น สำลักอาหาร
  5. เส้นเลือดหัวใจและสมองตีบ ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หัวใจสูบฉีดเลือดได้ลดลง ความดันต่ำ หากเป็นเส้นเลือดในสมองตีบก็จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานนั้น ทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงหรือไม่ทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเพื่อควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน ตรวจคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี รวมทั้งสตรีมีครรภ์จะต้องรีบไปฝากครรภ์ เท่านี้ร่างกายก็ห่างไกลจากเบาหวานได้แล้ว

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก