รู้หรือไม่ ?! ภาวะขาดน้ำ ทำให้สมองไม่แจ่มใส คิดอะไรไม่ออก

ภาวะขาดน้ำ

ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงกับการที่ร่างกายจะเกิดภาวะขาดน้ำได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเขตร้อน ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังบางโรค รวมทั้งในเด็กเล็กและทารก ภาวะขาดน้ำส่งผลเสียต่อทุกส่วนในร่างกายโดยเฉพาะสมองทำให้รู้สึกไม่แจ่มใส คิดช้า คิดอะไรไม่ออก อีกทั้งยังมีผลเสียต่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ภาวะขาดน้ำคืออะไร สาเหตุที่เป็นปัจจัยทำให้ร่างกายขาดน้ำ บทบาทหน้าที่และความสำคัญของน้ำในร่างกาย มีอะไรบ้าง aufarm.shop มีคำตอบมาให้อีกเช่นเคยครับ

ภาวะขาดน้ำ หมายถึงอะไร ?

ภาวะขาดน้ำ คือ การสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากกว่าการได้รับ จนทำให้ร่างกายมีน้ำและแร่ธาตุไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำซึ่งมีอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. ภาวะขาดน้ำ ที่มีอาการความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง เช่น รู้สึกกระหายน้ำบ่อย ๆ ง่วงซึม อ่อนเพลีย ผิวแห้ง ตาแห้ง ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ท้องผูก มีอาการมึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะ เป็นต้น
  2. ภาวะขาดน้ำ ที่มีความรุนแรงและควรพบแพทย์โดยด่วน เช่น มีอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็วและแรง หายใจหอบ มีไข้ อ่อนเพลีย ท้องเสียรุนแรง หรืออุจจาระเป็นเลือด

หน้าที่และความสำคัญของน้ำในร่างกาย

น้ำเป็นสารอาหารและส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ภายในร่างกายของคนเราจะประกอบด้วยของเหลวประมาณร้อยละ 60 – 70 ของน้ำหนักตัว ในจำนวนนี้เป็นเป็นน้ำเสีย 2 ส่วนใน 3 ส่วน น้ำดีที่อยู่ในเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายมีหน้าที่ ดังนี้

  1. ช่วยละลายสารอาหารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลกลูโคส กรดแอมิโนรวมทั้งวิตามินต่าง ๆ ในร่างกาย
  2. ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ หรือช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  3. ช่วยย่อย ดูดซึมและนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายรวมทั้งช่วยให้สารต่าง ๆ ไหลเวียนในร่างกายได้ดี
  4. ช่วยให้การขับถ่ายและการกำจัดของเสียที่ละลายอยู่ในน้ำขับออกจากร่างกายได้ดี
  5. ทำให้การเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆที่เกิดขึ้นในร่างกายเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์
  6. ช่วยเป็นน้ำหล่อลื่นในอวัยวะทำให้อวัยวะทำหน้าที่ได้อย่างดี เช่นตามข้อต่อต่าง ๆ ในลูกตา ในถุงน้ำคร่ำ

รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายมีภาวะขาดน้ำ ?

  1. ภาวะขาดน้ำในผู้ใหญ่ มักมีอาการเหนื่อย อ่อนล้า ไม่มีแรง ปากแห้งและปวดศีรษะ หลังจากนั้นมักมีอาการหน้ามืด ปัสสาวะน้อยและมีสีเหลืองเข้มกว่าปกติ เมื่ออาการรุนแรงชีพจรจะเต้นเร็วขึ้น ไม่มีเหงื่อ ตาลึกโหล หิวกระหายน้ำรุนแรง ความดันลดลงและหมดสติ
  2. ภาวะขาดน้ำ ในเด็กเล็ก จะพบว่าปัสสาวะน้อยลง หงุดหงิด ซึม ไม่กระตือรือร้น ไม่ร้องไห้ ผิวหนังเหี่ยว ชีพจรเต้นเร็วบางรายพบอาการกระหม่อมยุบ

น้ำเปล่า

สาเหตุทำให้ร่างกายขาดน้ำ 

  1. เกิดจากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ๆ และอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน 
  2. เกิดการเจ็บป่วยที่ทำให้อาเจียน ถ่ายท้องจนร่างกายเสียน้ำและแร่ธาตุ 
  3. รับประทานยารักษาโรคบางชนิดที่ทำให้ขับปัสสาวะ เช่น ยาลดความดัน ยาเบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์
  4. เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ดื่มน้ำไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดน้ำ

  1. ในกรณีที่ออกกำลังกายหนักร่างกายเสียเหงื่อมาก ๆ อาจทำให้หมดแรง เป็นตะคริว และเป็นลมได้ง่าย
  2. เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นนิ่วหรือไตวาย 
  3. อาจมีอาการชักหมดสติเพราะกล้ามเนื้อหดอันเนื่องมากจากแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล
  4. เกิดความดันเลือดและออกซิเจนลดต่ำ ทำให้อาจถึงภาวะช็อกและเสียชีวิตได้

การวินิจฉัยภาวะขาดน้ำของแพทย์

การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้

  1. การตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบว่าร่างกายขาดน้ำหรือไม่ เช่น การตรวจความดัน ตรวจการเต้นของหัวใจ เพราะการขาดน้ำจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น เกิดการเวียนศีรษะ เพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้การคิดก็ช้าลงด้วย
  2. ตรวจเลือด เพื่อหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หาค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หาการทำงานของตับไต หรือปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ
  3. ตรวจปัสสาวะเพื่อหาน้ำตาล หาปริมาณโปรตีนเพื่อดูว่าตับไต ปกติหรือไม่ ซึ่งหากมีความผิดปกติก็จะเสี่ยงภาวะขาดน้ำได้สูง  

แนวทางการรักษาการ และดูแลตนเองจากภาวะขาดน้ำ

การรักษาภาวะขาดน้ำในแพทย์ก็จะใช้วิธี ให้ดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ หากไม่สามารถดื่มได้ก็จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ เพื่อเป็นการชดเชยปริมาณของน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป ส่วนการป้องกันและดูแลตนเองจากภาวะขาดน้ำ ทำได้ดังนี้

  1. ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หากออกกำลังที่มีการเสียเหงื่อมาก ๆ ควรดื่มน้ำหรือเกลือแร่ทุก ๆ 20 นาที 
  2. หากต้องทำกิจกรรมหนัก ๆ เมื่อมีอาการเหนื่อย เหงื่ออกมาก ๆ เวียนศีรษะ สมองมึนงง ไม่แจ่มใส คิดช้า คิดไม่ออก ควรมีการหยุดพัก
  3. ขณะออกกำลังกาย ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีและเหมาะกับกิจกรรม 
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อบอ้าว หรือ แสงแดดจัด

ภาวะขาดน้ำ นอกจากส่งผลเสียต่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเราแล้ว ยังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพราะภาวะขาดน้ำส่งผลทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานไม่ดี เป็นผลทำให้การส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เมื่อสมองไม่แจ่มใส ทำให้คิดอะไรไม่ออก จนส่งผลกระทบต่องานในหน้าที่

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก