มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งชนิดที่พบว่า มีคนเป็นจำนวนมากจนสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งเต้านม และยังมีอัตราเสียชีวิตที่นับว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยสามารถเกิดได้กับผู้หญิงเกือบทุกวัย ในระยะแรกจะไม่มีอาการบ่งชี้ใด ๆ จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อโรคได้ลุกลามหนักแล้ว มาทำความรู้จักกันว่ามะเร็งปากมดลูกคืออะไร และมีสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม เพื่อให้ร่างกายปลอดภัยจากโรคนี้
มะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?
มะเร็งปากมดลูก คือ เซลล์ที่อยู่บริเวณปากมดลูก เกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติหรือเกิดการกลายพันธุ์ จนกลายเป็นเนื้อร้ายที่ไม่สามารถควบคุมให้หยุดได้ และเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดการแพร่กระจายไปทำลายยังอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้ โดยการผ่านทางระบบเลือด น้ำเหลือง จนลุกลามไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยจนถึงขึ้นเสียชีวิต
อาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปากมดลูก
ระยะแรกที่เป็นผู้ป่วยมักไม่ทราบ เนื่องจากโรคนี้ไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏออกมา เป็นโรคที่จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อ โรคได้แพร่กระจายและลุกลามแล้ว ซึ่งก็จะมีอาการดังนี้
- มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เช่น หลังการตรวจภายใน หลังการร่วมเพศ หรือผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้วก็ยังมีเลือดออกกะปริบกะปรอยอย่างผิดปกติ
- เกิดความเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์และมักมีเลือดออกตามมา
- มีของเหลว สารคัดหลั่ง หรือตกขาวออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติและอาจมีเลือดปนออกมาด้วย
- น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ปัสสาวะมีเลือดออก ปวดตามร่างกาย ปวดกระดูก ปวดท้องน้อย ปวดหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้ จะเป็นเมื่อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายและลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว
- ปัสสาวะไม่ออก หรือบางรายปัสสาวะบ่อย
- น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ร่างกายไม่มีแรง เบื่ออาหาร
สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก
โรคนี้สาเหตุหลักมาจากการที่มดลูกติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) โดยผ่านมาทางการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจนทำให้เกิดโรคนี้ เช่น การมีภูมิคุ้มกันต่ำ การมีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีอายุยังน้อย มีคู่นอนและเปลี่ยนคู่นอนหลายคน การมีบุตรมากกว่า 4 คน การทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ รวมทั้งเคยมีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่น โรคซิฟิลิส เริม หนองใน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยว่าจะเป็นมะเร็งที่ปากมดลูกหรือไม่นั้น แพทย์จะทำการตรวจคัดกรองความสมบูรณ์ของมดลูกด้วยวิธี (Pap smear) ว่าจะมีเซลล์ที่มีการแบ่งตัวหรือเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติหรือไม่ หากพบก็ยังสรุปว่าเป็นโรคนี้ไม่ได้ต้องทำการตรวจร่วมกับผลการตรวจแบบอื่น ๆ ด้วย คือ ผลของการอัลตราซาวน์ การเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan) การเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การเอ็กซ์เรย์ปอดและผลการตรวจเลือด หากพบว่าเป็นก็จะประเมินว่าอยู่ในระยะที่เท่าใด เพื่อวางแผนในการรักษาในลำดับต่อไป
การรักษามะเร็งปากมดลูก
การรักษาจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยเป็นระยะใด ซึ่งแพทย์จะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วย เพราะการรักษาจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย มีผลกระทบ ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งโอกาสที่จะประสบความสำเร็จหลังการรักษาต่อตัวผู้ป่วยตามมาด้วย โดยการรักษาสามารถทำได้ดังนี้
- ก่อนระยะเป็นมะเร็ง การรักษาหากพบว่ายังเป็นช่วงก่อนการเป็นมะเร็งคือช่วงติดเชื้อ HPV ซึ่งยังไม่กลายเป็นมะเร็งในระยะแรก แพทย์ก็จะทำการตัดบางส่วนของมดลูกหรือตัดเนื้อเยื่อปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า หรือผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อออกเป็นรูปกรวย หรือใช้เลเซอร์จี้เฉพาะตรงเนื้อที่ผิดปกตินั้นออกไป
- ระยะที่เป็นมะเร็งแล้ว การรักษาอาจทำหลายวิธีร่วมกัน เพราะเมื่อมะเร็งปรากฏอาการแล้วก็อาจลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ซึ่งแพทย์จะต้องประเมินร่างกายของผู้ป่วยและโรคว่าเป็นแบบใด และจะเลือกวิธีการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยนั้น ๆ โดยวิธีการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกคือ การให้รังสี การให้เคมีบำบัดและการผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อน
สำหรับภาวะแทรกซ้อนสามารถเกิดได้จากอาการที่โรคลุกลาม คือ มีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ปัสสาวะมีเลือดปน ช่องคลอดติดเชื้อมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ การเกิดลิ่มเลือด และเมื่อมะเร็งแพร่กระจายหรือลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ซึ่งอาการแทรกซ้อนก็มักจะเป็นอาการเจ็บปวดตามอวัยวะที่มะเร็งแพร่เข้ามาทำลาย หากลุกลามเข้ามาที่เลือดก็จะทำให้เลือดมากีดขวางการทำงานของท่อไต ทำให้ไตวายได้ และขณะทำการรักษาก็มักมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการให้รังสี การให้เคมีบำบัดหรือการผ่าตัด เช่น อาจมีไข้ เหนื่อย เพลีย อาเจียน เจ็บปาก อีกด้วย
การป้องกันและวิธีดูแลสุขภาพ
- สามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งในปัจจุบันสามารถป้องกันสายพันธุ์ที่มีโอกาสเป็นได้สูงคือ HPV 16 และ HPV 18
- ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ เช่น ไม่มีคู่นอนหลายคน ใช้ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่
- ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานอาหารประเภทผัก ผลไม้บ่อย ๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ควรมีการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปี เพื่อหาการติดเชื้อ HPV ก่อนที่เซลล์จะเปลี่ยนเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1
การตรวจหามะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 25-49 ปี ทุก ๆ 3 ปี อายุ 50-64 ปีตรวจทุก ๆ 5 ปี และตั้งแต่อายุ 65 ปีเป็นต้นไปให้ตรวจเฉพาะผู้ที่ไม่เคยตรวจคัดกรองมาก่อนเท่านั้น เพราะถ้าตรวจพบก่อนก็จะสามารถรักษาเซลล์ที่ผิดปกตินี้ให้หายขาดได้ เป็นการป้องกันการกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะกว่าจะมีสัญญาณเตือนก็ต่อเมื่อเป็นขั้นลุกลามไปทั่ว การรักษาต้องใช้วิธีที่ซับซ้อนมากขึ้นแล้วนั่นเอง
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -