รู้ทันอาการปวดท้อง “ไส้ติ่งอักเสบ”

ไส้ติ่งอักเสบ

People photo created by jcomp – www.freepik.com

ปวดท้อง เป็นปัญหาสุขภาพเกิดได้จากหลายสาเหตุ และยังมีลักษณะความผิดปกติหรืออาการปวดท้องเหมือนหรือคล้าย ๆ กับหลายโรคทั้งอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง  “ไส้ติ่งอักเสบ” เป็นหนึ่งในโรคที่เริ่มจากอาการปวดท้องและเป็นอาการปวดที่ไม่แตกต่างจากโรคทั่วไป แต่อาจมีอันตรายร้ายแรงได้หากดูแลรักษาไม่ทัน เพื่อให้รู้ทันอาการปวดท้องไส้ติ่งอักเสบ วันนี้ aufarm.shop มีความรู้มาแนะนำครับ

รู้ทันอาการปวดท้อง  “ไส้ติ่งอักเสบ”

ไส้ติ่ง คือส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ยื่นออกมาเป็นติ่ง มีตำแหน่งอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่ไม่ได้มีหน้าที่สำคัญ แต่หากเกิดการอุดตันและมีการอักเสบอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนไส้ติ่งอักเสบ คืออาการปวดท้องแบบเฉียบพลันที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย พบได้มากในกลุ่มคนที่มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 1530 ปี  ซึ่งผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้เท่า ๆ กัน

สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบ 

ไส้ติ่งอักเสบ มาจากการอักเสบและติดเชื้อของไส้ติ่ง โดยสัญญาณบ่งบอกในเบื้องต้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน หากเกิดการอักเสบรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บตรงท้องน้อยด้านขวา และในที่สุดไส้ติ่งก็จะเกิดการเน่าตายและแตกทะลุได้ สาเหตุหลัก ๆของไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากภาวะอุดตันในรูหรือทางเข้า-ออกของไส้ติ่ง ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
  1. การมีเศษอุจจาระแข็ง ๆ ชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า นิ่วอุจจาระ(Fecalith) ตกลงไปในรูไส้ติ่ง
  2. เกิดจากเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง (Lymphoid tissue) ที่ผนังไส้ติ่งที่หนาตัวขึ้นตามการอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย
  3. เกิดจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เมล็ดผลไม้ หนอนพยาธิ หรือก้อนเนื้องอก
  4. อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดการปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการขยายตัวขึ้นจนไปปิดกั้นไส้ติ่ง และทำให้ไส้ติ่งที่อาจมีเชื้อโรคอาศัยอยู่เกิดอาการอักเสบ

อาการปวดท้องไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน มักเป็นมากขึ้นและอาการแย่ลงภายใน 6-24 ชั่วโมง ซึ่งอาการของภาวะไส้ติ่งอักเสบที่พบโดยทั่วไปมีดังนี้
  1. มีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน ที่บริเวณรอบสะดือ ต่อมาย้ายไปปวดที่ท้องด้านล่างขวาเนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น
  2. ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นขณะที่ไอ เดิน หรือแม้แต่ขยับตัว
  3. บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือรู้สึกเบื่ออาหาร
  4. มีไข้ต่ำ ๆ ระหว่าง 37.238 องศาเซลเซียส และอาจสูงกว่า 38.3 องศาเซลเซียส หากเกิดภาวะไส้ติ่งแตก
  5. มีอาการท้องเสีย ท้องผูก หรือมีอาการท้องอืดรวมด้วย
  6. มีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้นของไส้ติ่งไปกระตุ้นท่อไตของระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งอยู่ใกล้กัน

การวินิจฉัยของแพทย์

การวินิจฉัยอาการไส้ติ่งอักเสบค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอาการของไส้ติ่งอักเสบนั้นค่อนข้างคลุมเครือ และมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ โดยทั่วไปแพทย์จะทำการวินิจฉัยตามอาการหรือตามขั้นตอน ดังนี้
  1. แพทย์จะทำการซักประวัติเพื่อให้ทราบลักษณะอาการเจ็บป่วยหรืออาการปวดท้องและนำมาวินิจฉัย
  2. การตรวจร่างกายหาความผิดปกติหรืออาการของโรค อาจทำควบคู่กับการซักประวัติ เพราะอาการปวดท้องไส้ติ่งมีอาการคล้ายกันหลายโรค
  3. หาก 2 วิธีแรกยังได้ผลไม่ชัดเจน แพทย์จะใช้การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัย
  4. กรณีแพทย์มีความมั่นใจจากการวินิจฉัยโรค ก็จะทำการรักษาได้ทันที

แนวทางการรักษาไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น เพราะจะช่วยรักษาอาการและช่วยกำจัดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไส้ติ่งแตก โดยการผ่าตัดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ 
  1. การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เพราะเป็นการผ่าตัดเล็กสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ทันที เหมาะกับกรณีไส้ติ่งที่อักเสบยังอยู่ในระยะไม่ร้ายแรงนัก 
  2. 2.กรณีปวดท้องไส้ติ่งมีอาการที่รุนแรง หรืออยู่ในขั้นไส้ติ่งแตก ก็จะต้องใช้การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) ซึ่งเป็นผ่าตัดแบบมาตรฐาน เพราะนอกจากจะต้องนำไส้ติ่งที่แตกออกแล้ว ยังต้องทำความสะอาดภายในช่องท้อง และใส่ท่อเพื่อระบายหนองจากฝีที่เกิดขึ้นอีกด้วย

วิธีดูแลตนเองในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด

ผู้ป่วยที่อาการโรคไส้ติ่งอักเสบยังไม่รุนแรงมาก หรือยังไม่ได้เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่ง ควรเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติของตนเองอย่างระมัดระวัง หากพบว่า มีอาการ เบื่ออาหาร มีไข้สูง อาเจียน หรือกดบริเวณที่มีอาการแล้วรู้สึกปวดมากขึ้น และปวดนานกว่า 6 ชั่วโมง ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที 

วิธีดูแลตนเองในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ผ่าตัดไส้ติ่งแล้ว

ในกรณีผู้ป่วยที่ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบไปแล้ว การดูแลตนเองถือว่า เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงดังเดิม ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ดังนี้
  1. กระตุ้นการลุกจากเตียงหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวเร็วขึ้น
  2. หลีกเลี่ยงการเกาแผลหรือกระทบกระเทือนแผล เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ได้
  3. รักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ ห้ามให้แผลเปียก และควรล้างมือก่อนสัมผัสแผล
  4. การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ 
  6. ควรเลือกรับประทานอ่อนๆ และเป็นอาหารที่กลืนง่าย ย่อยง่าย 
  7. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชาและกาแฟ
โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่คล้ายคลึงกับโรคปวดท้องทั่วไปแต่มีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ นั่นก็คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายที่ดีของร่างกาย แต่ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติคล้ายอาการโรคไส้ติ่งอักเสบ และคุณยังไม่เคยผ่าตัดไส้ติ่งมาก่อน ข้อแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการทันที 
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก