โรควิตกกังวล ปัญหาสุขภาพของวัยทำงาน รักษาได้อย่าปล่อยไว้นาน

วิตกกังวล
อาการวิตกกังวลที่มีมากจนเกินไป และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และเป็นสาเหตุของโรควิตกกังวล ทำให้ความสุขในการใช้ชีวิตทั้งทางกายและทางใจลดลง โรคนี้เมื่อเกิดกับคนที่อยุ่ในวัยทำงานยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลงอีกด้วย โรควิตกกังวล เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีป้องกันและรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบครับ

โรควิตกกังวล คืออะไร ?

โรควิตกกังวล คือ โรคทางจิตที่พบได้มากที่สุดโรคหนึ่ง เป็นโรคที่เกิดจากความวิตกกังวลซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป คนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวล หรือหวาดกลัวอย่างเกินเหตุ จนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

ลักษณะอาการ และสาเหตุของโรค

จากปัจจัยหลัก ๆ ของโรควิตกกังวล คือจากพันธุกรรม และเกิดจากเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และเกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดพลาดไป อันเกิดจากความเครียดที่มีระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง และแบ่งโรคนี้ออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้

1. โรควิตกกังวลทั่วไป

อาการของโรคจะไม่รุนแรง และเป็นความวิตกกังวลที่เกี่ยวกับเรื่องในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป แต่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เนื่องจากความวิตกกังวลส่งผลให้ร่างกายได้พักผ่อนน้อย และเกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หรือทำให้หงุดหงิดได้ง่าย

2. โรคย้ำคิดย้ำทำ

ผู้ป่วยจะมีอาการย้ำคิด และทำในเรื่องที่ทำไปแล้วด้วยความกังวล ส่งผลให้ทำเรื่องเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะเกิดความมั่นใจ โรควิตกกังวลในลักษณะนี้มักไม่ส่งผลต่อสุขภาพ แต่จะส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานหรือคนในครอบครัว ต่อการทำงานร่วมกันในสังคม

3. โรคแพนิค

ความวิตกกังวลและอาการประเภทนี้จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ป่วยค่อนข้างมากอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว เหงื่อออก และใจสั่น

4. โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ

อาจเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยได้ผ่านเหตุการณ์รุนแรง หรือเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดกลัว ระแวง และตกใจง่าย

5. โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง

คือการกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมาก เช่น กลัวเลือด กลัวสัตว์บางชนิด กลัวเข็มฉีดยา สาเหตุมาจากเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้ายทำให้จดจำและหวาดหลัว
โรคเครียด

Businesswoman having headache after hard work

สัญญาณบ่งบอกอาการของโรควิตกกังทำให้ความสุขในชีวิตลดลง

  1. อารมณ์หงุดหงิดหรือฉุนเฉียวง่าย และเกิดขึ้นบ่อย ๆ
  2. อยู่ในภาวะซึมเศร้า ขาดแรงบันดาลใจ ไม่รู้สึกอยากได้อยากดี
  3. ชีวิตขาดสีสัน ขาดชีวิตชีวาในการดำเนินชีวิต
  4. นอนไม่หลับ มีความวิตกกังวลโดยไม่ทราบสาเหตุ
  5. รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียบ่อย ๆ ต้องการพักผ่อนมากขึ้น
  6. มีอาการปวดเมื่อยตามแขนขา หรือนั่งนาน ๆก็จะมีอาการปวดหลัง
  7. บางครั้งเหงื่อออกมากผิดปกติ รู้สึกร้อนวูบวาบโดยมีอาการเครียด
  8. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
  9. ประสาทเครียด รู้สึกวิตกกังวล กระวนกระวาย
  10. รู้สึกหมดไฟ ปล่อยตัว

แนวทางการรักษาโรควิตกกังวล

  1. วิธีรักษาโรควิตกกังวลด้วยการรับประทานยา ซึ่งต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์  โดยตัวยาจะสามารถช่วยควบคุม และบรรเทาอาการลงได้ เช่น ยาอัลปราโซแลม ยาโพรพราโนลอล และยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ
  2. รักษาด้วยการทำจิตบำบัด คือการเข้ารับคำแนะนำ และคอยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อเรียนรู้การแก้ปัญหาเมื่อเกิดความวิตกกังวล ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ดนตรีบำบัด หรือกิจกรรมบำบัดรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งผู้ทำการรักษาจะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยและจัดกิจกรรมบำบัดให้เหมาะสม
  3. รักษาด้วยวิธีปรับเปลี่ยนความคิด เช่น เมื่อมีความกังวลให้หากิจกรรมอื่นทำเพื่อเกิดความสบายใจ หรือทำการนั่งสมาธิเพื่อผ่อนคลายจิตใจ นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดต่อเรื่องที่กังวลว่ามันไม่ได้เลวร้าย และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาก็เป็นทางออกที่ดีเช่นกัน

วิธีป้องกันตนเองจากโรควิตกกังวล 

  1. หมั่นออกกำลังกาย หลายๆคน อาจมีปัญหาเรื่องเวลาและปัญหาสุขภาพทำให้มีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะคนในวัยทำงานอาจมีข้อจำกัดด้านเวลา การออกกำลังกายที่ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี สามารถป้องกันโรควิตกกังวลได้ เช่น การเก็บกวาดบ้าน ปรับเปลี่ยนมุม ย้ายเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปรับภูมิทัศน์บริเวณบ้าน สิ่งเหล่านี้นอกจากช่วยให้ร่างกายของเราเคลื่อนไหวเป็นการออกกำลังกายไปในตัวแล้ว ยังทำให้สนุกเพลิดเพลินลดความวิตกกังวลลงได้
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนแม้บางคนจะมีเวลานอนน้อย แต่หากนอนหลับโดยไม่มีสิ่งรบกวนก็ทำให้ผักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นก่อนนอนควรปิดเครื่องมือสื่อสาร ปิดทีวี ให้เรียบร้อยเพื่อช่วยให้นอนหลับได้อย่างสนิท
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม 
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยทานอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะ นอกจากควบคุมโรคได้แล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ เมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตก็จะดีไปด้วย
  5. ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด โดยหากิจกรรมทำร่วมกับเพื่อนๆหรือคนในครอบครัว
โรควิตกกังวล เป็นอาการของโรคหรือความวิตกกังวลใจซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากเกิดขึ้นแล้วเมื่อสภาพปัญหาที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดความวิตกกังวลหมดไป อาการก็หายไปได้เอง แต่หากมีความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุส่งผลให้จิตใจเศร้าหมอง อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อาจต้องพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการและความรุนแรงของโรค
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก