โรคเกาต์ อาการปวดข้อ เท้าบวม และอาหารที่กระตุ้นอาการปวด

โรคเกาต์ ปวดเข่า
เกาต์เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกตามข้อต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลัน โดยโรคเกาต์ พบได้บ่อยในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสามารถดูแลตนได้อย่างถูกต้อง วันนี้ aufarm.shop มีอาการปวดข้อของเกาต์และอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด มาแนะนำเป็นความรู้ครับ

โรคเกาต์ คืออะไร ?

โรคเกาต์ คือการที่ร่างกายของคนเรารมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเกินจุดอิ่มตัว จนทำให้เกิดการตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต เมื่อผลึกเหล่านี้ไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะบริเวณข้อ ก็จะทำให้เกิดการอักเสบตามมา เกาต์เป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยหรือเกิดจากพันธุกรรม  สำหรับอาการกำเริบของโรค ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงอาจจะกลายเป็นโรคเกาต์ในช่วงเวลาใดก็ได้ ภาวะของโรคที่พบได้บ่อยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นเพศชายอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ส่วนเพศหญิงพบได้บ้างในวัยหลังหมดประจำเดือน

อาการของโรค และการอักเสบของเกาต์

  1. เมื่อเกิดอาการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดข้ออย่างรุนแรง เช่น มีอาการปวดบริเวณข้อ หรือข้อนิ้วหัวแม่เท้า นอกจากอาการปวดแล้วยังมีอาการบวม ผิวหนังตึง แดง และเจ็บมาก แต่จะมีลักษณะจำเพาะคือเมื่ออาการเริ่มทุเลาผิวหนังบริเวณที่ปวดจะลอกและมีอาการคัน
  2. อาการปวดของผู้ป่วย อาจเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารมากผิดปกติ ทานอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ และมักเริ่มปวดในเวลากลางคืน
  3. ส่วนใหญ่อาการปวดจากการอักเสบของโรคเกาต์ มักจะเป็นข้อเดียว จะปวดและอักเสบประมาณ 1 สัปดาห์แล้วจะค่อยๆหายได้เอง
  4. ผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์ ระหว่างที่ไม่มีอาการปวดหรืออักเสบ จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ทำให้ผู้ป่วยขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มบางประเภทที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
  5. เมื่อเกิดอาการอักเสบหรือปวดข้อ ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเกาต์

เกาต์ เมื่อมีอาการแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือไม่ไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้แก่
  1. มีปุ่มผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนนูนจนส่งผลเสียต่อบุคลิกและภาพลักษณ์
  2. ผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดีและปล่อยให้เป็นโรคเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และไตวายจนทำให้เสียชีวิตได้
  3. ผู้ป่วยเกาต์ ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะข้อพิการได้
เกาต์ บวม เท้า

แนวทางการรักษาโรคเกาต์

แนวทางการรักษานอกจากการทานยาไปตลอดชีวิตและการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด การรักษาโรคเกาต์ ยังมีแนวทางอื่นโดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องทานยาไปตลอด ซึ่งการรักษาทำได้ 2 แนวทาง ดังนี้

1. แนวทางการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา

สำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้ ต้องเริ่มจากการดูแลตนเองของผู้ป่วย เช่น การลดน้ำหนักในรายที่น้ำหนักตัวมากเกินไป การดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยการขับกรดยูริกออกทางไต งดการดื่มสุราและแอลกอฮอล์ทุกชนิด ลดการรับประทานอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก พืชผักที่มีกรดยูริก และอาหารทะเล ซึ่งการรับประทานอาหารเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องงดหรือเลิกทานเพียงลดปริมาณการรับประทานลงเท่านั้น 

2. วิธีปฏิบัติตัวไม่ให้โรคเกาต์กำเริบ

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ผลการรักษาโรคเกาต์เป็นไปด้วยดี โดยผู้ป่วยต้องมีส่วนร่วม ดังนี้
  1. ทำความเข้าใจ และเรียนรู้สาเหตุของโรค และสิ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ เพื่อดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
  2. รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค หากปฏิบัติตัวดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ยังลดความเสี่ยงต่อการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดอีกด้วย
  3. ทานอาหารให้สมดุลและถูกส่วน ทานให้ครบทุกหมวดหมู่ ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 3000 มิลลิลิตร
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
  5. ต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด เพื่อติดตามผลการรักษา ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อดูระดับกรดยูริก และตรวจการทำงานของตับและไตเป็นระยะ ๆ
  6. ผู้ป่วยควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อข้อที่อักเสบ
ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยโรคเกาต์ นอกจากอาการปวดข้ออย่างรุนแรงแล้วยังต้องวิตกกังวลกับอาหารต้องห้าม ซึ่งส่วนใหญ่มีอยู่ในเมนูอาหารประจำวันของคนไทยอยู่แล้ว เช่น พืชผักต่าง ๆ แต่ผักหลากหลายชนิดกลายเป็นอาหารกระตุ้นอาการปวดเกาต์ เมื่อทราบประเภทของอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นอาการปวด ก็จะสามารถปรับเปลี่ยน หลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องสมดุล
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก