อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย เป็นการขับเอาสิ่งที่ตกค้างในทางเดินหายใจ ด้วยการเอาอากาศเข้าไปในช่องท้อง และหน้าท้อง จากนั้นก็จะเกิดการหดตัวของหน้าท้อง พร้อม ๆกับการเปิดกล่องเสียง และขับเอาสิ่งที่อยู่ตกค้างอยู่ให้ออกมา การไอหากเกิดบ่อยๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ดังนั้นหากมีอาการไอเรื้อรัง เป็นเวลานาน ๆโดยไม่ทราบสาเหตุก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนั่นคือการไอเรื้อรังที่เตือนว่าร่างกายอาจมีโรคบางอย่างแฝงอยู่
ไอเรื้อรัง คืออะไร ?
อาการไอ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง และสารแปลกปลอมอื่น ๆ ลักษณะการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-8 สัปดาห์ และไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่าหรือเท่ากับ 8 สัปดาห์สาเหตุของอาการไอเรื้อรัง
การไอ อาจเป็นแค่การไอแห้ง ๆ ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองคอหรืออาจมีเสมหะปนออกมา หากมีอาการเพียงเท่านี้ ก็ไม่ถือเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับโรคร้ายอื่น ๆ แต่ถ้าหากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การไอเรื้อรัง แบบรุนแรง ขณะไอมีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บคอ หายใจลำบาก มีเสมหะที่มีเลือดปนออกมา ไอติดต่อกันนาน คือมีระยะเวลาของการไอมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป สาเหตุอาจเกิดได้จาก- โรคภูมิแพ้หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ หรือเป็นโรคในช่องจมูก เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหืดหอบ โรคไซนัส และอาการของโรคภูมิแพ้มักเป็นโรคที่พบว่าสามารถทำให้มีอาการ ไอเรื้อรังได้มากที่สุด
- โรคในช่องคอ เช่นโรคเส้นเสียงอักเสบ ซึ่งสาเหตุมาจากการใช้เสียงมากเกินไป โรคต่อมทอนซิลอักเสบ มักมีอาการไข้ เจ็บคอเมื่อกลืนน้ำลาย
- โรคร้ายแรง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ร่างกายจะขับออกมาได้ด้วยการไอ เพราะมีก้อนเนื้อไปกดทับที่บริเวณปอดเช่น การเป็นโรคมะเร็งที่ปอด หรือเป็นโรคเนื้องอกบริเวณหลอดลมและกล่องเสียง จึงทำให้มีการไอเรื้อรังไม่หาย
- โรคอื่น ๆ ที่แฝงอยู่กับโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น วัณโรคปอด ถือเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องรีบทำการรักษา โรคหอบหืดซึ่งมักเป็นคู่กับโรคภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอด
การวินิจฉัยโรคไอเรื้อรัง
ไอเรื้อรัง สามารถเป็นอาการของโรคอื่น ๆได้หลายโรค การวินิจฉัยจึงจำเป็นต้องใช้การตรวจและการวินิจฉัยจากแพทย์หลาย ๆด้าน เพื่อให้ทราบผลอย่างแน่ชัด สำหรับขั้นตอนแพทย์อาจปฏิบัติ ดังนี้- แพทย์จะทำการซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของโรค โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ เช่น ประวัติการเป็นของคนในครอบครัว อาการต่างๆ การสัมผัสสารที่อาจทำให้เกิดการแพ้ หรืออาการที่อาจเป็นโรคอื่นๆได้อีกเช่น โรคเส้นเสียงอักเสบ โรคกรดไหลย้อน
- ตรวจระบบทางเดินหายใจ หากมีความผิดปกติก็อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆเช่น ส่องกล้องดูระบบทางเดินหายใจ ตรวจเสมหะ ตรวจสมรถภาพปอดด้วยการใช้หูฟัง ฟังเสียงหายใจเข้าและออก หรือถ่ายภาพรังสีของโพรงจมูก เอ็กซเรย์ช่องอกเพื่อตรวจหาความผิดปกติของปอด
วิธีการรักษาโรคไอเรื้อรัง
การรักษาโรคไอเรื้อรัง สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบแน่ชัดก่อนเป็นอาการไอเรื้อรังจากสาเหตุใด หรือเป็นอาหารของโรคชนิดใด แล้วจึงทำการรักษาตามแนวทางหรือวิธีการของโรคนั้น ๆวิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการไอ
โรคไอเรื้อรัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นอาการไอที่ไม่ร้ายแรงสามารถหายได้เองเพียงบำรุงดูแลตนเองหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และอาจเป็นอาหารของโรคร้ายแรง สำหรับแนวทางการรักษากรณีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้ยาแก้ไอ ร่วมกับยาอื่น ๆ เช่น ยาละลายเสมหะหรือยาอม เพื่อรักษาในเบื้องต้นก่อน รวมทั้งผู้ป่วยต้องดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้- หากการไอเกิดจากการเป็นภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะต้องหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่กระตุ้นแล้วร่างกายแพ้ จนทำให้เกิดการไอมากยิ่งขึ้น เช่น ฝุ่นละอองต่าง ๆ ควันบุหรี่ สารเคมี ละอองเกสร ขนแมว ขนสุนัข
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรืองดไปอยู่ในที่ที่มีควัน เช่นควันธูป ควันไฟ
- หลีกเลี่ยงจากการสัมผัส อากาศเย็นๆโดยตรงเช่น จากพัดลมหรือจากแอร์ เพราะอากาศที่เย็นจัดจะทำให้หลอดลมหดตัวเล็กลง ก็จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการไอถี่ๆมากยิ่งขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอทุกวัน ขณะนอนพักผ่อนต้องทำร่างกายให้มีความอบอุ่นเช่นห่มผ้า ใส่ถุงเท้า เพื่อป้องกันอากาศเย็น
- โรคร้ายแรงบางชนิดสามารถป้องกันด้วยการตรวจพบแต่เนิ่น ๆ ได้ เช่นโรคมะเร็งปอด หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรตรวจเพิ่มร่วมไปกับการตรวจสุขภาพประจำปีได้
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -