โรคภูมิแพ้อากาศ แสบจมูก น้ำมูกไหล ไม่ใช่แค่หวัด

ภูมิแพ้อากาศ
โรคภูมิแพ้อากาศ ปัญหาสุขภาพที่นอกจากสร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยแล้ว อาการไอ จาม มีน้ำมูกไหล ยังสร้างปัญหาในการเข้าสังคม หรือทำให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจในตัวเอง โรคภูมิแพ้อากาศ เหมือนหรือแตกต่างจากอาการหวัดอย่างไร สาเหตุของภูมิแพ้อากาศ และเมื่อเป็นภูมิแพ้อากาศควรดูแลตนเองอย่างไร บทความนี้ มีความรู้ดี ๆ มาแนะนำครับ

โรคภูมิแพ้อากาศ คืออะไร ?

โรคภูมิแพ้อากาศ คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อจมูกเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ แม้โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลงได้ และหากโรคภูมิแพ้อากาศเกิดร่วมกับหอบหืดและมีอาการแพ้รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

โรคภูมิแพ้ ต่างจากไข้หวัดอย่างไร ?

โรคภูมิแพ้อากาศและไข้หวัด หากจะแยกความแตกต่างของหวัดและภูมิแพ้อากาศ ในส่วนของหวัดจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล โดยช่วงแรกน้ำมูกจะใสแล้วค่อย ๆ ข้นขึ้น แต่จะไม่มีอาการคันจมูก โดยระยะเวลาของโรคหวัดจะประมาณ 3-10 วัน ซึ่งต่างกับโรคภูมิแพ้อากาศที่ผู้ป่วยจะมีอาการคันจมูกร่วมด้วย รวมไปถึงอาการคันตา น้ำตาไหล และมักมีระยะเวลาของโรคยาวนานมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

ปัจจัยที่ทำที่เป็นสาเหตุของภูมิแพ้อากาศ

  1. ภูมิแพ้ที่เกิดจากพันธุกรรม คนที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีภูมิคุ้มกันต่ำและยีนส์ที่ผิดปกติ สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้
  2. ภูมิแพ้ที่เกิดสารก่อภูมิแพ้ สาเหตุหลักของการเกิดภูมิแพ้ คือสารที่ก่อนภูมิแพ้ในอากาศและเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ เช่น ไร้ฝุ่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา
  3. ภูมิแพ้ที่เกิดจากปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้  เช่น สารเคมี กลิ่นฉุน กลิ่นบุหรี่ น้ำหอม

อาการของโรคภูมิแพ้อากาศ

  • คันในจมูก หรืออาจคันไปถึงในคอ เพดาน
  • มีอาการคันตา หรืออาจคันไปถึงหูด้วย
  • จามบ่อย จามไม่หยุด และอาจมีอาการไอร่วมด้วย
  • มีน้ำมูกใส ๆ
  • มีอาการแน่นจมูก หรือหายใจทางจมูกไม่สะดวก
  • มีอาการหูอื้อ
  • มีน้ำมูกไหลลงคอ มีเสียงดังในหู

การวินิจทางการแพทย์

แพทย์จะทำการซักประวัติสุขภาพ และสอบถามว่ามีบุคคลในครอบครัว หรือญาติทางสายเลือดเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้นและทดสอบอาการของโรคภูมิแพ้ เพื่อวินิจฉัยโรค ซึ่งทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 
  1. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง  แพทย์จะนำน้ำยาที่มีส่วนประกอบของสารก่อภูมิแพ้ทางอากาศหรือที่เป็นอาหารมาทดสอบกับผิวหนังของผู้ป่วย โดยผ่านการสะกิดที่ผิวหนัง จากนั้นจะให้ผู้ป่วยรอดูอาการประมาณ 20 นาที หากผู้ป่วยมีอาการแพ้บริเวณที่สะกิดผิวหนังของผู้ป่วยจะเกิดเป็นตุ่มนูนแดงขึ้นมา
  2. การตรวจเลือดเพื่อหาสารภูมิต้านทานอิมมูโนโกลบูลินอีในเลือดของผู้ป่วยว่าก่อภูมิแพ้ใดบ้าง
ฉีดยา ฉีดวัคซีน

การรักษาโรคภูมิแพ้อากาศ

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาโรคภูมิแพ้โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่  

1. การรักษาโรคภูมิแพ้โดยรับประทานยาแก้แพ้ 

  การรักษาโดยการรับประทานยาแก้แพ้ จะแบ่งเป็น  2 กลุ่ม ได้แก่ ยาแก้แพ้กลุ่มที่ช่วยลดการหลั่งของสารฮิสตามีน และอาการภูมิแพ้อื่น ๆ ได้ดี แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ยาแก้แพ้กลุ่มที่ถูกพัฒนาโมเลกุลยาให้ใหญ่ขึ้น เพื่อไม่ให้เคมีของยาผ่านเข้าสู่สมอง และไปรบกวนระบบประสาทส่วนกลางจนทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม         

2. การรักษาโรคภูมิแพ้โดยการฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ คือ การฉีดเอาสารภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันให้ทำปฏิกิริยาต่อสารที่คุณแพ้ และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้อีก ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้สามารถฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ โดยช่วงแรกแพทย์จะฉีดวัคซีนเข้าที่แขนให้สัปดาห์ละครั้งแล้วสลับข้างกัน ระยะเวลาที่เข้ารับการฉีดวัคซีนภูมิแพ้จะอยู่ที่ประมาณ 3-5 ปี ซึ่งแพทย์จะให้หยุดรับวัคซีนได้ก็ต่อเมื่อไม่มีอาการแพ้แล้ว แต่หากผู้ป่วยยังมีอาการแพ้อยู่หรือผลจากการรับวัคซีนยังไม่ดีพอ แพทย์ก็อาจยืดระยะเวลาการรับวัคซีนอย่างต่อเนื่องไปอีก 1 ปีหรือมากกว่านั้นตามอาการ

3. การรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง

การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง นอกจากเป็นการรักษาโรคภูมิแพ้อากาศด้วยตนเองที่ได้ผลดี ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่เสียเวลาในการรักษา ยังเป็นการป้องกันตนเองจากอาการภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี เช่น
  1. หลีกเลี่ยงอย่าเข้าใกล้ หรือที่เสี่ยงที่จะได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้ามาในร่างกาย
  2. หมั่นทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ 
  3. ตัดหญ้า และวัชพืชต่าง ๆ ที่คุณมีอาการแพ้
  4. กำจัดแมลง เช่น มด แมลงสาบ ตัวต่อ แตนที่เสี่ยงจะกัดต่อย ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  5. รักษาอุณหภูมิของร่างกายตนเองให้อบอุ่นเสมอ 
  6. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  7. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 
  8. หากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียดเสมอ 
  9. ตากผ้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน พรมหรือผ้าปูรองต่าง ๆ ไว้ในที่แดดจัดเสมอเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  10. หลีกเลี่ยงไม่ในที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือที่สถานที่ที่มีสารเคมี
  11. หากคุณแพ้ขนสัตว์ ควรหลีกเลี่ยงไม่เลี้ยงสัตว์ 
  12. ฉีดยาป้องกันขนร่วง หรือบำรุงขนให้ไม่กลายเป็นฝุ่นละอองในบ้าน
โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นปัญหาสุขภาพที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง แต่อาการของโรคนี้จะไม่มีอันตรายต่อตัวคุณถ้าหากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ระมัดระวังการใช้ชีวิต รักความสะอาด และตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ก็สามารถรับมือและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้อากาศได้
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก