เครื่องปรุงรส คือตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้อาหารมีรสชาติอร่อย และในแต่ละเมนูอาหารยังใช้เครื่องปรุงรสหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซีอิ๊วขาว และซอสปรุงรสต่าง ๆ ที่อาจใช้มากกว่า 2 หรือ 3 ชนิด ซึ่งเครื่องปรุงรสส่วนใหญ่มีรสเค็มจากโซเดียม ในขณะที่ร่างกายของคนเราต้องจำกัดรสเต็มหรือกินเค็มในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักโซเดียมในเครื่องปรุงรสว่ามีคุณและโทษอย่างไร
รู้จักโซเดียม และความสำคัญที่มีต่อร่างกาย
โซเดียม คือ เกลือแร่หรือเกลือแกงประกอบด้วยสารอาหารสำคัญ 2 ชนิดได้แก่ โซเดียมกับคลอไรด์ เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ความสำคัญของโซเดียมหรือเกลือแกง มีหน้าที่ช่วยควบคุมของเหลวในร่างกายให้มีความสมดุล ทำให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ ช่วยให้การทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อรวมทั้งการดูดซึมสารอาหารในไตและในลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์
แหล่งอาหารที่มีโซเดียม
- อาหารจากธรรมชาติ ประเภท ผักหรือผลไม้ทุกชนิดรวมทั้งเนื้อสัตว์ และยังเป็นแหล่งอาหารที่ไม่ต้องปรุงแต่งรสชาติแต่ร่างกายสามารถได้รับโซเดียมอย่างเพียงพอ
- เครื่องปรุงต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเพิ่มรสชาติของอาหารซึ่งจะมีส่วนประกอบของโซเดียมที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมา ประเภทของเครื่องปรุง เช่น ผงปรุงรส กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรสสูตรต่าง ๆ น้ำมันหอย ซีอิ้วขาว ซอสพริก เต้าเจี้ยว ซุปก้อน หรืออื่น ๆ
- อาหารแปรรรูปต่าง ๆ ล้วนเป็นแหล่งโซเดียม ไม่ว่าจะเป็นการหมัก ดอง หรือตากแห้ง กระบวนการถนอมอาหารเหล่านี้จะมีทั้งการปรุงรสชาติและการเพิ่มความเค็ม
- อาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งอาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กคัพ ซุปซอง หรือ อาหารปรุงเสร็จแช่แข็งพร้อมรับประทาน อาหารกลุ่มนี้ ถือว่ามีการเติมโซเดียมลงไปเป็นจำนวนมากเพื่อทำถนอมอาหาร
- อาหารถุงปรุงสำเร็จ ที่ปรุงขายพร้อมทาน มีรายงานว่าอาหารประเภทนี้มีปริมาณโซเดียม เฉลี่ยต่อถุง 815-3,527 มิลลิกรัม เช่น ไข่พะโล้ แพงไตปลา คั่วกลิ้ง ส่วนอาหารจานเดียว จะมีปริมาณโซเดียม 1,000 – 2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งจาน หรือครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
- อาหารว่างประเภทขนมกรุบกรอบ มักจะมีปริมาณโซเดียมอยู่มาก ทำให้ปัจจุบันมีการใช้ฉลากหวาน มัน เค็ม หรือ ฉลาก GDA มาคอยกำกับและเตือนว่าควรบริโภคแค่ไหน เช่น คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 ซอง ควรแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง
- เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้ พบว่าผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง มีการเติมสารกันบูด หรือโซเดียมเบนโซเอต ลงไปด้วย ทำให้ผู้บริโภคได้โซเดียมไปด้วย
ผลของโซเดียมที่มีต่อสุขภาพ
ความต้องการในการบริโภคโซเดียมในแต่ละวันพบว่า ในวัยผู้ใหญ่ไม่ควรบริโภคเกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวันหรือประมาณมื้อละไม่เกิน 600 มิลลิกรัม ซึ่งหากเป็นเกลือก็ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชาหรือน้ำปลาไม่เกิน 5 ช้อนชา สำหรับเด็กไม่ควรบริโภคเกิน 1900 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัยแล้ว หากได้รับโซเดียมมากจนมีปริมาณโซเดียมในเลือดสูงเกินไปหรือโซเดียมในร่างกายไม่สมดุล จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้
- ส่งผลให้รู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ เกิดอาการอ่อนเพลียหรือชักเกร็ง ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ง่วงซึม หงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน หากเกิดในทารกมักทำให้ร้องไห้งอแง หงุดหงิด กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
- หากร่างกายได้รับโซเดียมเกินความต้องการในแต่ละวัน เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคไต ความดันโลหิตสูง ปริมาณที่เหมาะสมควรได้รับไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 10 % ลดโรคหลอดเลือดอุดตันได้ 13 % ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตและโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย
ข้อแนะนำในการลดบริโภคโซเดียม
การบริโภคอาหารที่ได้จากธรรมชาติและจากการปรุงแต่งเพื่อเพิ่มรสชาติในอาหารแต่ละอย่าง ล้วนมีโซเดียมอยู่แล้วทั้งสิ้น ข้อแนะนำในการบริโภคอาหารเพื่อลดปริมาณโซเดียมในแต่วันควรปฏิบัติ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ้ว น้ำมันหอย และเครื่องปรุงรสอื่นโดยค่อย ๆ ปรับเพื่อให้เกิดความความเคยชิน
- ใช้เครื่องปรุงรสจากธรรมชาติทดแทน เพราะมีโซเดียมน้อยและยังได้อาหารที่มีรสชาติอร่อยช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้นได้ เช่น มะนาว พริก หากเป็นน้ำผัก ผลไม้ก็ควรกินแบบธรรมชาติไม่ใช่แบบแปรรูปจะดีต่อสุขภาพมากกว่า
- เลือกบริโภคอาหารสดเพิ่มขึ้น และลดอาหารแปรรูปหรืออาหารปรุงสำเร็จให้น้อยลง
- ปรับพฤติกรรมลดการกินอาหารรสจัด โดยไม่ต้องจิ้ม ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอส น้ำจิ้ม พริกเกลือ น้ำปลาหวาน อาจาด และน้ำพริก
- ปรับพฤติกรรมการกิน ลดการเติมเครื่องปรุง หรือชิมก่อนเติมเครื่องปรุงเสมอ
การรับประทานอาหารจากธรรมชาติ ประเภทผักผลไม้ รวมทั้งอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ การลดปริมาณการบริโภคโซเดียม ก็เพียงเลี่ยงการบริโภคอาหารหมักดอง อาหารรสเค็มจัด อาหารแปรรูป พยายามบริโภคอาหารที่ได้จากธรรมชาติไม่ปรุงรสจัด เท่านี้ก็จะช่วยให้ร่างกายปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มีปัจจัยมาจากสารอาหารเหล่านี้ได้แล้ว
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -
฿790.00
฿1,580.00เห็ดหลินจือแดงสกัด 500 มก. 1 แถม 1
฿790.00฿1,580.00