วัยทอง คือช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เกิดได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทอง บางคนมีอาการรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การเรียนรู้ภาวะวัยทองและวิธีดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากช่วยให้ผู้ที่มีอาการวัยทองสามารถปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้แล้ว ความรู้เกี่ยวกับอาการวัยทองยังทำให้ลูกหลานหรือคนในครอบครัวรับมือกับอาการวัยทองของคนใกล้ตัวได้อย่างเข้าใจ
รู้ทัน ภาวะวัยทอง
ภาวะวัยทอง คือช่วงวัยที่ความสามารถในการผลิตฮอร์โมนเพศลดน้อยลง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ และสังคม อาการวัยทองเกิดขึ้นได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยส่วนใหญ่แล้วเพศหญิงจะมีอาการเปลี่ยนแปลที่ชัดเจนมากกว่าเพศชายอาการวัยทองของเพศหญิง
เกิดจากการสิ้นสุดของการมีประจำเดือนอย่างถาวรเนื่องจากรังไข่หยุดการทำงาน อายุเฉลี่ยที่จะเข้าสู่วัยทองคือ 40 – 59 ปี การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่ตามมา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนหมดประจำเดือนระยะนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 2-3 ปี ระยะที่ 2 เป็นระยะหมดประจำเดือน ประมาณ 1 ปีและระยะที่ 3 คือระยะหลังหมดประจำเดือน เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่หลังหมดประจำเดือนมาแล้ว 1 ปีอาการวัยทองในเพศชาย
เกิดจากระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเทสโทสเตอโรน เป็นฮอร์โมนหลัก ช่วยกระตุ้นลักษณะความเป็นเพศชาย มีบทบาทสำคัญในระบบการสืบพันธุ์ วัยทองในผู้ชายจะเริ่มเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปสัญญาณบ่งบอกอาการวัยทองในเพศหญิง
- ประจำเดือนเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนมาน้อยลง จนหมดประจำเดือน
- มีอาการแปรปรวนทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ
- มีอาการร้อนวูบวาบ อาจเกิดขึ้นเป็นเวลา เช่น ช่วงก่อนนอนอาจมีเหงื่อออกในเวลากลางคืน หรือ บางคนอาจมีอาการหนาวสั่น
- มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อและกระดูก
- ผิวหนังแห้งและบางลง ทำให้เกิดแผลได้ง่าย เส้นผมหยาบแห้ง และหลุดร่วงมาก
สัญญาณบ่งบอกอาการวัยทองในเพศหญิง
- เริ่มมีความต้องการทางเพศลดน้อยลง เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ลดลงตามวัย
- ประสิทธิภาพทางเพศลดลง ความแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลง
- ร่างกายมีความแข็งแรงลดลง ความสามารถในการเล่นกีฬาลดลง
- อาจรู้รู้สึกซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว
- อารมณ์หงุดหงิดง่าย ความสนุกสนานในชีวิตลดลง
วิธีรับมือกับอาการวัยทองในเพศหญิงและเพศชาย
สำหรับภาวะวัยทองในเพศหญิงและเพศชาย แม้จะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัยเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การเรียนรู้อาการเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อถึงช่วงวัยทองก็จะทำให้สามารถรับมือและลดปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ วิธีรับมือกับอาการวัยทองในเพศหญิงและเพศชาย มีดังนี้- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกทานอาหารที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมดุล เน้นอาหารที่มีแคลเชียมสูง การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพที่ดีช่วยลดความเครียด และอารมณ์แปรปรวนของคนที่อยู่ในช่วงวัยทองได้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีความเหนียว แข็งทำให้เคี้ยวยากและย่อยยาก ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ที่ย่อยง่าย
- ฝึกควบคุมอารมณ์และจิตใจ เมื่อเข้าสู่ภาวะวัยทอง หากเรียนรู้และเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และจิตใจ ควรควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาวะเหมาะสม ฝึกฝนได้โดยการนั่งสมาธิ คิดบวกมองบวกและทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลระบบการทำงานทั้งภายในและภายนอกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อมีอารมณ์หงุดหงิดการออกกำลังกายจะช่วยให้อารมณ์ดีและใจเย็นขึ้น
- พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ปัญหาสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยทอง
- ปัญหาภาวะกระดูกพรุน ผู้ที่อยู่ในวัยทองมักมีอาการปวดกระดูก กระดูกแตกหักจากอุบัติเหตุเล็กน้อยได้ง่าย
- น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นและเริ่มอ้วน ผู้ชายวัยทองอาจอ้วนลงพุง
- มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
- สูญเสียมวลกล้ามเนื้อโดยเฉพาะผู้ชายวัยทอง เริ่มมีไขมันสะสมรอบเอวและหน้าอก
- มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ผิวแห้งและบางลง หย่อน ไม่เต่งตึง
อาหารที่ควรรับประทานในวัยทอง
ผู้ที่เข้าสู่ช่วงวัยทอง อารมณ์มักแปรปรวน หงุดหงิดง่าย เป็นปัญหาที่เกิดจากระดับฮอร์โมนเพศลดลง อาหารที่รับประทานเป็นประจำ ควรเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ปลาแซลมอน ไข่ กล้วย ดาร์กช็อกโกแลต เต้าหู้ และน้ำเต้าหู้ นอกจากนี้วัยทองยังมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน มีโอกาสที่จะกระดูกแตกหักง่าย จึงควรรับประทานอาหารอุดมด้วยแคลเซียม ได้แก่- โยเกิร์ตไขมันต่ำ
- นมไขมันต่ำ
- ผักใบเขียว เช่น บล็อกโคลี แขนงผัก ดอกกะหล่ำ หัวไชเท้า เป็นต้น
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ รวมถึงแอปเปิ้ล องุ่น และส้ม
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเข้าสู่วัยทอง
ผู้ที่อยู่ในภาวะวัยทองควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารที่ไปกระตุ้นให้ภาวะวัยทองมีอาการมากขึ้นได้ เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มชา กาแฟ เป็นประจำยังส่งผลทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หลีกเลี่ยงอาหารอาหารรสจัด ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน และ อาหารแปรรูป เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง ส่งผลให้ไขมันสะสมที่หน้าท้อง ทำให้อ้วนได้ง่าย ทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวานหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ อาการวัยทอง เป็นภาวะความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ในช่วงอายุระหว่าง 40 – 50 ปี วิธีดูแลสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยทอง ก็คือรู้ทันอาการวัยทองเพื่อรับมือกับอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างและการดำเนินชีวิต บำรุงดูแลสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรือทานอาหารเสริมที่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารได้อย่างครบถ้วนและสมดุล-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -