ลูคีเมีย โรคอันตรายรักษาให้หายขาดได้ หากรู้เร็ว

ลูคีเมีย
ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคร้ายแรงที่ส่วนใหญ่การรักษาทำได้เพียงประคับประคองไปตามอาการและความรุนแรงของโรค ไม่สามารถรักษาให้หายได้ พบได้มากใน 10 อันดับแรกของมะเร็งทุกชนิด ปัจจุบันจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ หากพบอาการป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมียตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อัดราการรักษาให้หายขาดค่อนข้างสูง

ทำความรู้จัก โรคลูคีเมีย 

ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว คือโรคที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความผิดปกติ โดยมีการแบ่งเซลล์อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคหรือส่งผลให้ร่างกายขาดภูมิต้านทานโรค นอกจากนั้นยังสามารถแพร่กระจายไปทำลายกระบวนการสร้างเม็ดเลือด เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือดในไขกระดูก จนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จนถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในที่สุด

สาเหตุของโรคลูคีเมีย

สาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่ก็สันนิษฐานว่าอาจเป็นได้จากพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติที่ใกล้ชิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันรวมทั้งผู้ที่มีกรรมพันธุ์เป็นดาวซินโดรม หรือผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด ได้รับรังสี การได้รับสารเบนซีนโดยตรง ได้รับคลื่นไฟฟ้าแรงสูงจากเครื่องใช้ไฟฟ้า มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้สูง ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเป็นเรื้อรัง (Chronic leukemia) การเกิดโรคจะค่อยเป็นค่อยไป ร่างกายจะมีความสมดุลของเลือดเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ มักไม่แสดงอาการร่างกายยังคงสร้างเม็ดเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดได้ เมื่อเริ่มมีความผิดปกติเม็ดเลือดขาวจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับที่เป็นอันตราย
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเป็นเฉียบพลัน (Acute leukemia) พบมากในเด็กนี้ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ แต่กลับสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ทำให้เกล็ดเลือดต่ำอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต 

อาการของผู้ป่วยลูคีเมีย

ผู้ป่วยลูคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค หากเป็นแบบเรื้อรังมักไม่มีอาการที่เด่นชัด ลักษณะอาการเริ่มจาก รู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดหรือมีอาการกดเจ็บบริเวณกระดูก ส่วนมะเร็งเม็ดเลือดแบบเฉียบพลันมักมีอาการผิดปกติที่สังเกตได้ ดังนี้
  1. ระยะแรก มักเป็นไข้เป็นเวลานาน ปวดตามกระดูก น้ำหนักลด มีแผลในช่องปาก ตัวซีดเป็นจ้ำเขียวจ้ำแดง ผิวซีดเหลือง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล มีประจำเดือนมากผิดปกติ ถ่ายเป็นเลือด
  2. ระยะที่สอง มักตามพร่ามัว เวียนศีรษะ อาเจียน มีอาการชัก ปวดท้อง ตับ ไต ม้าม โตขึ้น 

วิธีสังเกตอาการของลูคีเมีย

ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติ หรือมีอาการของโรคตามที่กล่าว โดยเฉพาะมีเลือดออกตามอวัยวะ มีจ้ำตามร่างกาย ติดเชื้อง่าย ปวดกระดูกมากขึ้นเรื่อย ๆ มีก้อนที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลือง ขาหรือ คอ รวมทั้งมีปัจจัยเสี่ยงคือบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์เพราะปัจจุบันลูคีเมีย หากตรวจพบได้เร็วยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ ปรึกษาแพทย์

การวินิจฉัยของแพทย์

เมื่อพบแพทย์ ในเบื้องต้นจะสอบถามอาการ ซักประวัติทางการแพทย์ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ตรวจดูการบวมโตของต่อมน้ำเหลือง ม้าม หรือตับ ตรวจภาวะผิวซีดด้วยการตรวจผิวหนังและดวงตา เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ และอาจใช้การตรวจการตรวจเลือด ตรวจไขกระดูก ตรวจภาพถ่ายรังสี และการเจาะและเก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลัง เพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย 

ขั้นตอนการรักษาโรคลูคีเมีย

สำหรับขั้นตอนการรักษามะเร็วเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาโดยประเมินจากอายุสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ตามขั้นตอน ดังนี้
  1. ให้คีโม ด้วยการให้ทานหรือให้ฉีด โดยแบ่งออกเป็น ระยะทำลายมะเร็ง ระยะป้องกัน ระยะแพร่กระจายไปที่สมองและระยะควบคุม โดยจะให้เป็นชุด ๆ ขั้นตอนนี้อาจให้เวลา 1-2 ปี
  2. ให้รังสี ด้วยการฉายรังสีเพื่อเตรียมปลูกถ่ายไขกระดูกหรือฉายรังสีที่ม้าม
  3. การปลูกถ่ายไขกระดูก ทำหลังจากให้เคมีและฉายรังสี วิธีนี้เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสร้างเม็ดเลือดที่เป็นปกติได้เอง
  4. สร้างภูมิคุ้มกัน เป็นการกระตุ้นทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกัน

การดูแลตนเองของผู้ป่วยลูคีเมีย

โรคนี้ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำทำให้ติดเชื้อได้ง่าย การดูแลสุขอนามัยตนเองและทำให้ร่างกายแข็งแรงเพื่อสร้างภูมิตุ้มกันโรค ทำได้ดังนี้
  1. ดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะต่าง ๆ เช่น การทำความสะอาดช่องปากควรใช้แปรงขนนุ่ม เพื่อลดการเป็นแผลในปาก
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เน้น ทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปด้วยดี ลดความเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่ทวารหนักและน้ำจะช่วยลดการแตกสลายของเม็ดเลือด
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันโรค ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  4. เชื่อฟังปฏิบัติตนและอยู่ในความควบคุมของแพทย์อย่างเคร่งครัด
อาการและความรุนแรงของลูคีเมีย ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อายุ สุขภาพของผู้ป่วย หากพบอาการของโรคได้เร็วก็สามารถดูแลรักษาให้หายหรือควบคุมโรคได้ หากพบล่าช้าอาการของโรคมีความรุนแรง ลูคีเมียชนิดเฉียบพลันอาจเสียชีวิตภายใน 3-4 เดือน เนื่องจากการติดเชื้อง่าย เชื่ออาจมีการลุกลามไปตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย ส่วนชนิดเรื้อรังแม้อาการของโรคจะค่อยๆเป็นค่อยๆ หากอาการรุนแรงก็อาจเสียชีวิตได้ภายในระยะเวลา 6-8 เดือน
aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก