ไส้เลื่อน เป็นปัญหาสุขภาพที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเกิดขึ้นกับผู้ชายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงไส้เลื่อน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพียงแต่ผู้ชายมีโอกาสที่จะเป็นไส้เลื่อนได้มากกว่า และมักพบโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ไส้เลื่อน คืออะไร รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไส้เลื่อน เป็นแล้วมีวิธีดูแลรักษาอย่างไร คำถามเหล่านี้ aufarm.shop มีคำตอบมาให้ครับ
โรคไส้เลื่อน คืออะไร ?
ไส้เลื่อน คือ ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกมาจากตำแหน่งที่อยู่เดิมไปอยู่ยังอีกตำแหน่งหนึ่ง และทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายก้อนตุง ซึ่งเกิดจากความอ่อนแอของผนังช่องท้องหรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยานสูญเสียความแข็งแรง โดยส่วนที่เคลื่อนตัวออกไปจะยังคงถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเดิม และอวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อย คือ ลำไส้เล็กโรคไส้เลื่อนที่พบบ่อย
ภาวะไส้เลื่อน หรือโรคไส้เลื่อน แบ่งออกเป็นหลายประเภทตามตำแหน่งของการเกิดโรค และที่พบได้บ่อย มีดังนี้- ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ เป็นภาวะของโรคที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 70 ของโรคไส้เลื่อนที่พบทั้งหมด และยังพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เกิดจากความผิดปกติของผนังช่องท้องตั้งแต่กำเนิด โดยลำไส้เคลื่อนมาติดคาที่บริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะ
- ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ คือภาวะที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกมาตุงที่บริเวณกลางหน้าท้อง ทำให้เห็นลักษณะเป็นก้อนนูนบริเวณสะดือหรือสะดือจุ่น เกิดขึ้นได้ในเด็กและทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนเป็นไส้เลื่อนประเภทเดียวที่มักจะไม่มีอันตรายและสามารถหายไปได้เอง โดยส่วนใหญ่จะหายไปเมื่อเด็กอายุ 1 ขวบ
- ไส้เลื่อนหลังจากการผ่าตัด ไส้เลื่อนประเภทนี้เป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดที่บริเวณช่องท้องมาก่อน ทำให้ผนังหน้าท้องเกิดความอ่อนแอ
- ไส้เลื่อนกะบังลม เกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของกระเพาะอาหารยื่นออกมานอกช่องท้อง ผ่านรูบริเวณกะบังลมเข้าไปอยู่ในช่องอก เป็นลักษณะไส้เลื่อนที่พบในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป หากพบในเด็กโดยมากมักจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติแต่กำเนิด
สัญญาณเตือนของโรคไส้เลื่อน
- กรณีเป็นไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ สัญญาณเตือนของโรคผู้ป่วยจะสังเกตได้ว่ามีก้อนนูนอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกเชิงกรานหรือขาหนีบ อาจรู้สึกปวดบริเวณก้อนโดยเฉพาะขณะก้มตัว ยกสิ่งของ และไอจาม หรือมีอาการอัณฑะบวมและปวด
- กรณีเป็นไส้เลื่อนกระบังลม ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ปวดบริเวณหน้าอก และรู้สึกกลืนลำบาก
- โรคไส้เลื่อนอื่น ๆ สัญญาณเตือนของโรคอาจไม่มีก้อนนูนให้เห็นเลย แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องโดยหาสาเหตุไม่ได้ ปวดเฉพาะเวลาไอจาม หรือยกสิ่งของ มีอาการท้องผูก มีเลือดปนในอุจจาระ
อาการของโรคไส้เลื่อนที่ต้องรีบไปพบแพทย์
ภาวะของโรคไส้เลื่อนที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายและต้องได้รับการผ่าตัดรักษาฉุกเฉิน เช่น ภาวะลำไส้ขาดเลือดและเน่าตาย ภาวะลำไส้อุดตัน หรือไส้เลื่อนติดคาไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้องได้ ลักษณะอาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ ได้แก่- เริ่มมีอาการปวดบริเวณที่เป็นไส้เลื่อน
- อาการของไส้เลื่อนที่ผู้ป่วยไม่สามารถดันก้อนนูนกลับเข้าไปในช่องท้องได้
- มีอาการปวดบริเวณท้อง ท้องอืด ไม่ขับถ่าย ไม่ผายลม
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
สาเหตุของโรคไส้เลื่อน
สาเหตุของโรคไส้เลื่อน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งภาวะที่เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ดังนี้- เกิดจากปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่อาจมีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด
- เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอวัยวะที่เสื่อมสภาพลงตามวัย เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
- การยกของหนัก ๆ ทำให้ต้องออกแรงมากและทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้น
- คุณแม่ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เพราะเมื่อมีทารกเกิดขึ้นภายในครรภ์ จะส่งผลให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น
- เกิดจากได้รับอุบัติเหตุที่หน้าท้องและเกิดความเสียหายต่อผนังหน้าท้อง ซึ่งทำให้ผนังหน้าท้องอ่อนแอ
การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อน
- การวินิจฉัยด้วยตัวเอง ทำได้โดยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น บริเวณหน้าท้องหรือบริเวณขาหนีบมีลักษณะนูนเป็นก้อนออกมามากผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจให้แน่ชัด
- การวินิจฉัยโดยแพทย์ เมื่อไปพบแพทย์หลังสังเกตพบความผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งบอกอาการของอาการไส้เลื่อน แพทย์จะวินิจฉัยอาการของคนไข้จากการซักประวัติและการตรวจโดยให้ผู้ป่วยลุกขึ้นยืนและลองไอออกมา เพื่อให้เห็นอาการของไส้เลื่อนได้ชัดเจนขึ้น และ คนไข้บางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม เช่น การอัลตราซาวด์ หรือ การเอกซเรย์ ตามดุลพินิจของแพทย์
การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อน
การรักษาโรคไส้เลื่อน รักษาได้โดยการผ่าตัดแพทย์ที่ทำการรักษา อาจจะเสนอแนวทางการผ่าตัดให้กับผู้ป่วย 2 วิธี ดังนี้- การผ่าตัดแบบเปิด โดยแพทย์จะทำการผ่าที่บริเวณหน้าท้องแล้วดันส่วนที่เคลื่อนออกมากลับเข้าไปสู่ตำแหน่งเดิม วิธีนี้เป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐานมากที่สุด
- การผ่าตัดผ่านกล้องด้วยเครื่องมือเฉพาะ วิธีนี้แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิดมาก และมีค่าใช้จ่ายสูง ส่วนข้อดีคือหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็วแต่อาจกลับกลับมาเป็นไส้เลื่อนซ้ำที่บริเวณเดิมได้
การดูแลตนเองหลังผ่าตัดไส้เลื่อน
- หลังการผ่าตัดไส้เลื่อย หมอจะกำหนดเวลาให้ผู้ป่วยนอนราบ เมื่อครบกำหนดแล้วผู้ป่วยควรลุกจากเตียงให้เร็วตามกำหนด
- หากไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ให้รับประทานอาหารได้ตามปกติ
- เมื่อกลับมาพักพื้นที่บ้านครบกำหนด 7 วันให้ตัดไหมได้ที่คลินิก อนามัย หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้าน
- ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ แต่ถ้าแผลถูกน้ำให้เปิดทำแผลทุกวัน
- แผลผ่าตัดที่ปิดสนิท ไม่ต้องเปิดทำแผลและห้ามแกะเกา
- หลีกเลี่ยงการการยกของหนัก และงดการออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วง 2 เดือนแรกหลังการผ่าตัด
- ไม่ควรเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ เพราะหากมีความดันในช่องท้องเพิ่มอาจทำให้รอยเย็บหรือตาข่ายที่ใส่ไว้มีการเคลื่อน จะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้มากขึ้น
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -