หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการของโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงและวิธีป้องกันรักษา

แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือหนึ่งในหลายอาการผิดปกติที่บ่งชี้ว่าเรามีอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และอาการแบบไหนที่เรียกว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งอาการ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เมื่อเป็นแล้วควรดูแลตนเองอย่างไรมีแนวทางการรักษาให้หายได้หรือไม่ สำหรับคำถามต่าง ๆ aufarm.shop มีคำตอบมาให้ครับ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร ?

หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปการเต้นของหัวใจที่เรียกว่า ปกตินั้น คืออยู่ที่ 60100 ครั้งต่อนาที อาการเตือนที่ทำให้รู้ว่าการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติ ได้แก่

  1. หัวใจเต้นผิดจังหวะ ในกรณีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ จะส่งผลให้มีอาการมึนงง ใจหวิว ระดับความดันโลหิตต่ำลง และอาจทำให้เป็นลมหมดสติได้
  2. สำหรับอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ จะทำให้มีมีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายและเสียซีวิตเฉียบพลัน

สาเหตุของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  1. เกิดจากกินยาและสารบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน คาเฟอีนที่อยู่ในชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม
  2. เกิดจากอาการของโรคเรื้อรังที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
  3. เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ

ตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์

  1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ Electrocardiogram ในขณะที่มีอาการ
  2. การตรวจคลื่นหัวใจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์แบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง
  3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ในขณะที่มีอาการ
  4. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)

เจ็บหน้าอก

อาการของโรคหัวใจทั่วไป

คำว่าโรคหัวใจ มีความหมายกว้างมาก และนอกจากอาการที่เกิดจากโรคหัวใจ รวมทั้งอาการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยังมีลักษณะอาการคล้ายกับอาการของโรคอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสับสนหรือไม่มั่นใจว่าเป็นอาการของโรคหัวใจหรือไม่ โดยทั่วไปอาการของโรคหัวใจสามารถสังเกตหรือตรวจพบอาการได้ ดังนี้

1. อาการของโรคหัวใจที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน 

โดยปกติคนที่ออกกำลังกายจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อออกกำลังไปได้ระดับหนึ่ง แต่ในกรณีของคนที่เริ่มต้นมีอาการของโรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยมากผิดปกติ อาการเจ็บหน้าอก จะมีลักษณะแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายมีของหนักทับ ทำให้รู้สึกเหนื่อยและหายใจอึดอัด เป็นลมหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

2. อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากร่างกาย

อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากร่างกาย ได้แก่ การที่ปริมาณออกซิเจนในเลือดมีน้อยลง เนื่องจากทางเดินของเลือดในหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ นอกจากนั้นยังอาจมีอาการ ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทรายสาเหตุ

3. อาการผิดปกติที่พบจากการตรวจร่างกายโดยแพทย์

ในคนที่มีการตรวจร่างกายประจำอาจตรวจพบความผิดปกติที่บ่งบอกได้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น พบไขมันในเลือดสูง หรือมีอาการของโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ

อ่อนเพลีย เครียด

ปัจจัยเสี่ยง ที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ รวมไปถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด และสาเหตุอื่น ๆ เช่น

  1. พันธุกรรม เป็นปัจจัยเสี่ยงเนื่องจากมักพบผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคหัวใจมาก่อน
  2. คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากคความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจเต้นเร็วและทำงานหนัก เกิดจากหัวใจต้องใช้พลังงานในการสูบฉีดโลหิตมากกว่าปกติ
  3. ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง
  4. ความเครียด เพราะความเครียดทำให้หัวใจเต้นแรงโดยที่เป็นไม่รู้ตัว
  5. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ไขมันในเส้นเลือดสูง และโรคอ้วน
  6. การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

วิธีป้องกันการเกิดโรคหัวใจ 

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที และควรเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม กับสภาพร่างกายของตนเอง
  2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมอาหารให้มีความพอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
  3. หากิจกรรมนันทนาการเพื่อคลายเครียด ควบคุมอารมณ์และดูแลสุขภาพจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ 
  4. งดเว้น หรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  5. ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ในปัจจุบันมีโรคแปลกๆเกิดขึ้นมากมาย บางโรคก็ต้องกินยาไปตลอดชีวิตไม่มีทางหาย หรือบางโรคก็ยังไม่มีแนวทางการรักษา การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็สามารถป้องกันตนเองจากโรคหัวใจและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้แล้ว

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก