โรคติดต่อที่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนมีหลายโรคที่พ่อแม่ควรระวัง เนื่องจากส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายไข้หวัดซึ่งเป็นโรคที่สามาถดูแลและหายได้เอง ทำให้ขาดความระมัดระวังจากพ่อแม่ผู้ปกครอง โรคมือเท้าปาก คือหนึ่งในโรคที่มากับฤดูฝนและมีอาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอาการของโรคมือเท้าปาก สาเหตุและความรุนแรงของโรคต่างจากไข้หวัดอย่างไร บทความนี้มีคำตอบมาให้ครับ
โรคมือเท้าปากในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ต้องระวัง
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบมากในช่วงหน้าฝนหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว ส่วนใหญ่พบในวัยทารกจนถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังซุกซน วิ่งเล่น หยอกล้อกันทำให้เชื้อโรคสามารถติดต่อกับเพื่อนๆในวัยเดียวกันได้ง่าย
สาเหตุของโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากเกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่ไวรัสที่เป็นอันตรายที่มักจะถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือ กลุ่มเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นโรคติดต่อที่มีอาการรุนแรงที่สุด แต่จะไม่ติดต่อจากคนสู่สัตว์หรือสัตว์สู่คน ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อนี้จะไม่ค่อยมีอันตรายหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย
สัญญาณบ่งชี้ว่าเป็นอาการของโรคมือเท้าปาก
- เด็กมีอาการหงอยเซื่องซึม ไม่ร่าเริง
- เด็กบ่นว่ามีอาการปวดศรีษะ หรือปวดศรีษะมาก
- เด็กมีอาการผวา เพ้อ เบลอ หรือพูดจาสับสนจับใจความไม่ได้
- เด็กมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดบริเวณต้นคอมาถึงหัวไหล่
- เด็กมีอาการไอ หายใจหอบเร็ว มีเสมหะมาก
อาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคมือเท้าปาก
เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัสกลุ่มนี้จะทำให้เด็กมีอาการ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ หรือไข้สูงประมาณ 5 -7 วัน เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย มีตุ่มใส 1-2 มิลลิเมตรเหนือบริเวณต่อมทอนซิล มีแผลในปาก บริเวณรอบ 2 -3 แผล เช่น เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น ริมฝีปาก ทำให้เด็กเจ็บคอหรือกลืนอาหารและนมลำบาก รวมทั้งมีตุ่มขาวขุ่นรอบ ๆ ฐานมีสีแดงขนาด 4-7 มิลลิเมตร เกิดขึ้นที่บริเวณง่ามมือง่ามเท้าฝ่ามือฝ่าเท้าและจะแตกกลายเป็นแผล
โรคมือเท้าปากในเด็ก หากมีอาการรุนแรงอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อเด็กมีผลกระทบต่อพัฒนาการการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของเด็ก และภาวะแทรกซ้อนที่มักพบคือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอัมพาต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ ก้านสมองอักเสบ และภาวะขาดน้ำเนื่องจากแผลในปากทำให้รับประทานน้ำและอาหารลำบาก
การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก แพทย์ที่ทำการรักษาจะวิเคราะห์อาการบ่งชี้ที่เป็นสาเหตุของโรค เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส จึงนำสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ป่วยไปตรวจหาเชื้อ ดังนี้
- การตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสโดยใช้วิธีเพิ่มจำนวน RNA ของเอนเทอโรไวรัส เรียกวิธีนี้ว่า PCR (Polymerase Chain Reaction) วิธีนี้ทราบผลภายใน 2-6 วัน
- การนำสารคัดหลั่งไปทำการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันว่าเป็นไวรัสชนิดใด โดยการทำเทคนิคการเพาะเชื้อ (Viral Culture) วิธีนี้ทราบผลภายใน 2-10 วัน
การติดต่อของโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก ติดต่อทางสารคัดหลั่งในร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ โดยการสัมผัสกับน้ำลาย เสมหะ อุจาระของผู้ป่วย น้ำใส ๆ จากแผลหรือตุ่ม ซึ่งเชื้อไวรัสจะมีระยะในการฟักตัว 3-6 วัน และอาจทำให้เกิดการติดต่อได้โดยไม่พบอาการ
การรักษาโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก ยังไม่มีวัคซีนในการรักษา ดังนั้นการรักษาจึงต้องรักษาเพื่อประคับประคองตามอาการและความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น เช่น การให้ยาทาที่แผลที่ช่องปากเพื่อลดความเจ็บปวด การให้ยาทาบริเวณตุ่มใสใสที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาอาการคัน การให้ยาลดไข้หรืออาการที่เป็นหวัด ในเด็กที่มีแผลในปาก แพทย์ที่ทำการรักษามักจะแนะนำให้รับประไอศกรีม หรืออมน้ำแข็งเพื่อบรรเทาการปวดบวมจากการอักเสบของแผลภายในปาก พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่และอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
การป้องกันโรคมือเท้าปาก
- หลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิด หรือสัมผัสผู้ป่วย หรือไปบริเวณที่มีมีการแพร่ระบาดของโรคการรักษาความสะอาดของร่างกายตลอดเวลา การล้างมือหลังจากการเข้าห้องน้ำหรือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง การดูแลความสะอาดของเสื้อผ้า และอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนให้มีความสะอาดอยู่เสมอ
- ควรแยกภาชนะ เช่น จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ไม่ใช้ร่วมกัน
- หากสงสัยว่าเด็กติดเป็นโรคพ่อแม่ควรพาไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน และหากเด็กเป็นโรคควรให้หยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- เนื่องจากโรคมือเท้าปากมักจะพบว่าติดและเป็นอันตรายในเด็กดังนั้นสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวหรือจัดกิจกรรมของเด็ก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบได้เสมอในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบมากในเด็กโดยเฉพาะในวัยเรียน เมื่อพบว่าเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากหรือมีสัญญาณบ่งชี้ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและทำการรักษา หากอยู่ในวัยเรียนควรหยุดเรียนเพื่อป้องกันหรือหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ อย่างไรก็ดีการป้องกันโรคย่อมดีกว่าการดูแลรักษา เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ผู้ปกครองอาจเพิ่มการดูแลเอาใส่ใจอย่างใกล้ชิด แนะนำบุตรหลานให้หมั่นรักษาความสะอาดร่างกาย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็สามารถห่างไกลและปลอดภัยจากโรคมือเท้าปากได้แล้ว
-
฿990.00
฿2,770.00Cordy Plus (60 แคป) แถมเห็ดหลินจือแดงสกัด
฿990.00฿2,770.00 -
฿790.00
฿1,380.00เห็ดหลินจือแดงสกัด (250 มก.) 1 กล่อง แถมชาเห็ดหลินจือ 1 กล่อง
฿790.00฿1,380.00 -