6 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อภาวะการมีลูกยาก

มีลูกยาก

People photo created by yanalya – www.freepik.com

“การมีลูก” สำหรับคู่สมรสคือส่วนที่เข้ามาเติมเต็มความเป็นครอบครัวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเชื่อว่าคู่สมรสจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาหรือเคยประสบปัญหาการมีลูกยาก จนทำให้ต้องเสียเงินจำนวนไม่น้อยเพื่อรักษาภาวะการมีลูกยาก หรือใช้วิทยาการทางด้านการแพทย์ช่วยให้มีลูกซึ่งวิธีนี้ต้องใช้ทั้งเวลาและใช้เงินจำนวนมาก การมีลูกยากเกิดจากอะไร และมีปัจจัยด้านใดบ้างที่ส่งผลต่อภาวะมีลูกยาก บทความนี้มีคำตอบค่ะ

การมีลูกยาก คืออะไร ?

การมีลูกยากหรือภาวะการมีบุตรยาก หมายถึง ภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์หรือมีบุตรได้ โดยที่ไม่ได้คุมกำเนิดมาอย่างน้อย 1 ปีหรือ 6 เดือน ภาวการณ์มีบุตรแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

  1. ภาวะการมีบุตรยากชนิดปฐมภูมิ หมายถึง กรณีที่คู่สมรสมีบุตรยากโดยที่ยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน
  2. ภาวะการมีบุตรยาก ชนิดทุติยภูมิ หมายถึง คู่สมรสที่เคยตั้งครรภ์หรือมีลูกมาก่อน รวมถึงคนที่เคยตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือแท้งซ้ำแต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหลังจากเคยตั้งครรภ์มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี

ภาวะการมีบุตรยากของคู่สมรสในปัจจุบัน

ภาวะการมีบุตรยากในวัยเจริญพันธุ์ มีผลงานการวิจัยระบุว่าปัญหาการมีลูกยากเกิดจากฝ่ายหญิงร้อยละ 45 – 55 มากกว่าฝ่ายชายซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 35 – 45 และปัญหาการมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุอีกร้อยละ 10 ปัจจุบันปัญหาการมีบุตรยากยังมีแนวโน้มสูงขึ้น จากภาวะต่าง ๆ ดังนี้

  • การมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายหญิงทำให้การแต่งงานช้าลง นอกจากนั้นการแต่งงานของคู่สมรสในปัจจุบันยังมุ่งสร้างฐานะให้มีความมั่นคงก่อนที่จะวางแผนมีบุตร จึงทำให้มีลูกยากเมื่อมีอายุมากขึ้น
  • ปัจจุบันแม้วิธีคุมกำเนิดจะมีประสิทธิภาพ แต่การคุมกำเนิดบางวิธีก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ เช่น การคุมกำเนิดด้วยการฉีดยาเป็นเวลานานเมื่อเลิกคุมกำเนิดอาจทำให้การตกไข่กลับคืนมาเป็นปกติได้ล่าช้า ส่งผลทำให้มีบุตรยาก เป็นต้น
  • เกิดจากพฤติกรรมทางเพศในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ทำให้เกิดการอักเสบของระบบสืบพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก
  • การทำหมันทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เมื่อต้องการมีบุตรจึงต้องทำการผ่าตัดแก้หมัน ซึ่งบางครั้งการผ่าตัดแก้หมันก็ไม่สามารถทำให้ผู้ทำกลับมาตั้งครรภ์ได้อีก

6 ปัจจัย ที่ส่งเสริมการมีบุตรยาก

  1. อายุของสามีภรรยา ฝ่ายชายอายุระหว่าง 24-25 ปี และฝ่ายหญิงอายุระหว่าง 21 – 25 ปี เป็นช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด หลังจากนั้นโอกาสการตั้งครรภ์จะค่อย ๆ ลดลง และมีแนวโน้มที่จะอยู่ในภาวะมีบุตรยากในที่สุด
  2. ความถี่ของการมีเพศสัมพันธุ์ คู่สมรสที่มีความถี่ของการมีเพศสัมพันธุ์น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ถือว่ามีแนวโน้มที่จะมีภาวะมีบุตรยาก
  3. ระยะเวลาของการสมรส โดยปกติผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เมื่อแต่งงานนาน 3 เดือน ถึง 14 เดือน จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากถึงร้อยละ 90 แต่ในผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยาก หากระยะเวลาการสมรสยิ่งนานและไม่ได้รับการรักษาก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยลง
  4. การขาดความรู้เรื่องเพศ เช่น การขาดความรู้ในการนับวันตกไข่ในรอบเดือน ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยลง และมีแนวโน้มที่จะอยู่ในภาวะมีบุตรยากมากขึ้น
  5. บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม อาชีพ และอุปนิสัย ผู้หญิงที่ทำงานในสถานที่มีมลพิษจ่ากสารเคมี รวมทั้งอุปนิสัยในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ส่งผลต่อการมีบุตรยากเช่นเดียวกัน
  6. อารมณ์ ความครียด มีผลโดยตรงต่อระบบสืบพันธุ์ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลง เช่น ผู้หญิงหากมีความเครียดจะส่งทำให้รอบเดือนมาไม่ปกติหรือไม่ตรงตามกำหนดเวลา หรือมาไม่สม่ำเสมอ สำหรับผู้ชายความเครียดส่งผลทำให้การสร้างอสุจิได้น้อยลง มีอารมณ์ทางเพศน้อยลงหรือไม่มีเลย

ปรึกษาแพทย์

การรักษาภาวะมีลูกยาก

สำหรับคู่สมรสที่ประสบปัญหามีลูกยาก เมื่อพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุของการมีลูกยากว่าเกิดจากสาเหตุใด จากฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา ดังนี้

  • การรักษาภาวะมีลูกยากของฝ่ายหญิง โดยการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ การฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูกโดยตรง และการผ่าตัด
  • การรักษาสำหรับผู้ชาย การปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิต แพทย์จะให้ยาเพิ่มจำนวนอสุจิที่จะส่งผลต่อคุณภาพและการผลิตอสุจิ การเก็บน้ำเชื้อ และการผ่าตัดกรณีมีปัญหาท่อนำอสุจิอุดตัน เพื่อช่วยให้มีลูกได้ตามปกติ

การบำรุงดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการมีลูกยาก

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้มีลูกยาก เช่น การสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดปริมาณการได้รับคาเฟอีน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่หักโหมในการออกกำลังกายมากเกินไป
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เพื่อลดความเครียดในชีวิตประจำวัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งเลือกทานอาหารเสริมเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนสมดุล
  • หากมีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังควรพบแพทย์ ไม่ควรหยุดใช้ยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน

ปัจจุบันภาวะการมีลูกยากของคู่สมรส ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะมีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และวิธีการมากมายที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะมีลูกยาก เพียงบำรุงดูแลสุขภาพร่างกายทานอาหารเสริมที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้แข็งแรงและพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำปรึกษาเท่านั้น

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก