รู้ทันอาการปวดหลัง ปวดแบบไหนอันตราย

ปวดหลัง

อาการปวดหลัง เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบใด้บ่อยในกลุ่มของวัยทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่นาน ๆ หรือในกลุ่มคนที่ต้องทำงานหนักหรือต้องใช้แรง และเมื่อเกิดอาการปวดหลังหากปล่อยละเลยไม่รีบดูแลรักษา หรือหายาแก้ปวดมาทานเองเพราะคิดว่าไม่อันตราย นอกจากรักษาอาการปวดไม่หายแล้ว อาการของโรคอาจรุนแรงจนยากต่อการรักษา เพื่อรู้ทันอาการปวดหลัง aufarm.shop  มีความรู้มาแนะนำครับ

โรคปวดหลัง คืออะไร ?

ปวดหลัง เป็นอาการปวดเหมือนกับการปวดอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามอาการ ลักษณะการปวดหลังอาจเริ่มจากการปวดแบบเรื่อย ๆ ไม่รุนแรง แต่ปวดอย่างต่อเนื่อง หรือมีอาการปวดแบบเฉียบพลัน ปวดเสียวแปลบ ซึ่งทำให้ยากต่อการเคลื่อนไหว 

สัญญาณเตือนอันตรายจากการปวดหลัง 

อาการปวดหลังเกิดจากหลายปัจจัย และมีอาการแสดงแตกต่างกันโดยส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น ก้มเงย บิดตัวไปมา นั่งในท่าเดิมนาน ๆ ทำงานหรือเล่นกีฬา อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ ส่วนสัญญาณเตือนอันตรายจากการปวดหลังที่ควรพบแพทย์ ได้แก่ ปวดหลังปวดรุนแรงฉับพลันมีอาการชา อ่อนแรง ไม่สามารถขยับร่างกายได้ และมีอาการปวดนานเกิน 4 สัปดาห์หากอาการปวดไม่หายควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป

สาเหตุหลักของการปวดหลังเรื้อรัง 

อาการปวดหลัง แม้จะเกิดขึ้นจากการทำงานหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนั่งทำงาน การขับรถทางไกล หรือใช้แรงงานที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ซึ่งสามารถหายได้เอง แต่หากไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจกลายเป็นปวดหลังเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น สาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง ได้แก่

  1. ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม เนื่องจากกระดูกข้อเป็นส่วนที่ขยับได้ เมื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักและเคลื่อนไหว กระดูกอ่อนจะทำหน้าที่ลื่นและลดแรงเสียดทานไปพร้อม ๆ กัน จึงทำให้กระดูกอ่อนสึกและบางลงได้  และเป็นสาเหตุทำให้กระดูกออนสึกและเสื่อม ส่งผลให้เกิดผลการปวดหลังเรื้อรัง
  2. กระดูกหลังเสื่อมทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือ ปวดร้าวลงสะโพก และ ขา ทำให้เคลื่อนไหวยากลำบาก และเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  3. ปวดจากหมอนรองกระดูกหลัง เนื่องจากหมอนรองกระดูกหลังที่เสื่อมจะทำให้มีสารอักเสบออกมาบริเวณรอบ ๆ และส่งผลให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง
  4. ปวดจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อหนึ่งมัด หรือมากกว่าเกิดการอักเสบ แล้วมีอาการปวดร้าวลามไปบริเวณหลัง 

ปรึกษาแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์ 

  1. แพทย์จะทำการตรวจสอบประวัติพื้นฐานของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง
  2. ตรวจสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยจะดูจากการนั่ง การยืน การเดิน การยกขา และรวมไปถึงการเคลื่อนไหวของแผ่นหลัง
  3. สอบถามหรือซักถามเกี่ยวกับลักษณะการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน
  4. ตรวจและสอบถามเกี่ยวกับลักษณะอาการปวด รวมทั้งระยะเวลาที่เริ่มมีอาการปวดหลัง เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี

แนวทางการรักษาโรคปวดหลัง  

สำหรับแนวทางการรักษา หลังจากแพทย์วินิจฉัยเหาสาเหตุของอาการปวดหลังได้แล้ว จะแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ การรักษาโดยการใช้ยา และการรักษากายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย ดังนี้

1. การรักษาโดยการใช้ยา 

ได้แก่

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • ยาแก้ปวด เช่น ไทลีนอล ยาไอบูโปรเฟน มอตรินไอบี ยานาพรอกเซน และโซเดียม 
  • ยาทาบรรเทาอาการปวดเฉพาะที่
  • การรักษาระยะสั้น และอยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยใช้ยาโคเดอีน ไฮโดรโคโดน
  • การฉีดยาคอร์ติโซน

2. รักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย

นักกายภาพบำบัดจะทำการรักษาอาการปวดหลัง โดยใช้วิธีการบำบัด เช่น ความร้อน อัลตร้าซาวด์ การกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า หรือวิธีการคลายกล้ามเนื้อบริเวณกล้ามเนื้อหลังและเนื้อเยื่ออ่อนเพื่อลดอาการปวด 

3. รักษาโดยการการให้คำปรึกษา

แพทย์หรือผู้เชียวชาญ จะให้ความรู้กับผู้ที่ปัญหาอาการปวดหลัง และแนะนำวิธีจัดการกับอาการอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การดูวิดิโอให้ความรู้ การทำกิจกรรมหรือหาวิธีลดความกังวลและความเครียด แนะนำวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้

4. รักษาโดยการผ่าตัด

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง รวมทั้งมีอาการเจ็บหลังต่อเนื่องร่วมกับอาการเจ็บแปลบบริเวณขา มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างต่อเนื่อง จากเส้นประสาทถูกกดทับ แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัด

อาหารเสริม

Medicine bottles and tablets on wooden desk

วิธีป้องกันตนเองจากโรคปวดหลัง

  1. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปวดหลังมาจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป  ส่งผลให้เอว และหลังมีการรับน้ำหนักมากกเกินไป กรณีมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและมีอาการปวดหลัง ควรลดน้ำหนัก เพื่อป้องกันอาการปวดหลังเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อการชีวิตประจำวัน
  2. การนอนในท่าหงายเป็นเวลานาน ๆ ทำให้นำหนักของร่างกายกดลงไปที่กระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ควรนำหมอนมารองใต้ขาเวลานอน ส่วนการนอนตะแครง ให้นำหมอนสอดไว้ระหว่างขา จะช่วยการลงน้ำหนักของตัวป้องกันอาการปวดหลังได้ดี
  3. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรเลือกการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เป็นการเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังมีความแข็งแรงและลดความเสี่ยงของอาการปวดหลังได้
  4. การสวมรองเท้าส้นสูง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลัง ควรเลือกสวมรองเท้าที่ใส่แล้วสบาย รองเท้าที่มีส้นไม่เกิน 1 ซม. หรือสวมรองเท้าส้นเตี้ยช่วยลดอาการปวดหลังเวลาเดินได้
  5. หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน โดยควรเปลี่ยนอิริยาบถอย่างน้อย ทุก 20-45 นาที
  6. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การยกของหนักเป็นสาเหตุหลัก ทำให้เกิดอาการปวดหลัง 
  7. บำรุงกระดูก ด้วยการรับประทานแคลเซียม
  8. ดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน

อาการปวดหลัง แม้อาการปวดจะไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่การป้องกันย่อมดีกว่าการดูแลรักษา เมื่อมีอาการปวดหลังควรหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติ หากมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องและปวดนานเกินกว่า 3-4 สัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจกลายเป็นอาการปวดหลังเรื้อรังที่ยากต่อการรักษาได้

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

aufarm-logo

เราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรในราคาย่อมเยา และมีคุณภาพจากโรงงานที่ทันสมัย  ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้

Copyright © 2020 Aufarm / All rights reserved.

เมนูหลัก